ข้อความต้นฉบับในหน้า
1. กามฉันทะ หมายถึงความรักใคร่ในทางกาม บางทีเรียกว่า “กามราคะ ความคิดในกาม” คือ
มีความพอใจในกามคุณทั้งห้า อันได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสทางกายอันน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ ในเพศที่ตรงกันข้าม หรือแม้แต่เพศเดียวกัน เมื่อมีมากย่อมทำให้เกิดความหมกมุ่น ครุ่นคิด เพ่ง
เล็งถึงความน่ารัก น่าใคร่ในกามคุณ เนื่องจากใจยังหลงติดในรสของกามคุณทั้ง 5 นั้น จนไม่สามารถสลัด
ออกได้ เมื่อเกิดขึ้นกับคนใดก็เผาจิตใจของบุคคลนั้นให้กระวนกระวายเดือดร้อน ท่านจึงเรียกกิเลสชนิดนี้ว่า
“ราคัคคี - ไฟคือราคะ” ซึ่งแผดเผาใจให้กระวนกระวาย และทำให้มืดมน ไม่เห็นอรรถไม่เห็นธรรม
ใครก็ตามที่ถูกไฟกองนี้เข้าประจำจิตแล้ว บุคคลนั้นยากที่จะหาความสุขได้ แต่จะมีความทุกข์
มีความกระวนกระวาย มีความเดือดร้อนต่างๆ
2. พยาบาท คือ ความคิดร้าย ความรู้สึกไม่ชอบใจสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ได้แก่ ความอุ่นใจ ความ
ขัดเคืองใจ ความไม่พอใจ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความเกลียด ความผูกใจเจ็บ การมองในแง่ร้าย การ
คิดร้าย มองเห็นคนอื่นเป็นศัตรู ความรู้สึกเหล่านี้ทำให้ใจกระสับกระส่ายไม่เป็นสมาธิ และจัดเป็นไฟ
ประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นเผาลนจิตใจของชาวโลกให้เดือดร้อนกระวนกระวาย ท่านเรียกไฟกองนี้ว่า “โทสัคค
- ไฟคือโทสะ”
กิเลสนี้มีความก่อตัวขึ้นมาตามลำดับดังนี้
ครั้งแรก ถ้าไม่พอใจสัตว์หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งแล้ว จิตก็จะเกิด ปฏิฆะ - ความกระทบกระทั่งจิต
ถ้าห้ามไว้ไม่อยู่ก็จะพุ่งตัวขึ้นไปเป็น โกธะ - ความโกรธ ถ้ายับยั้งความโกรธไว้ไม่อยู่ก็จะกลายเป็น
โทสะ - ความเกรี้ยวกราด อาจจะด่าว่าหรือทำร้ายผู้อื่นที่ตนไม่พอใจ ถ้ายับยั้งโทสะไว้ไม่ได้ก็จะกลายเป็น
พยาบาท - ความผูกใจเจ็บ หรือความอาฆาตเคียดแค้น เป็นนิวรณ์ตัวนี้ ถ้าความอาฆาตแค้นนั้นมีมาก ก็
จะก่อตัวขึ้นเป็นการจองเวร
ลักษณะของพยาบาทกับการจองเวรต่างกันในข้อที่ว่า พยาบาท - การผูกใจเจ็บนั้น ถ้าสามารถ
แก้แค้นได้แล้วอาจจะหายได้ ส่วนการจองเวรนั้นแม้ได้แก้แค้นแล้วก็ยังไม่หาย คือต้องล้างผลาญกันไป
ทุกภพทุกชาติ
การผูกพยาบาทนั้น เหมือนกับการผูกเชือกที่มีเงื่อนเป็น ส่วนการจองเวรเหมือนการผูกเชือกที่
มีเงื่อนตาย คือแก้ยาก เวรจึงมีความร้ายแรงกว่าพยาบาท แต่ทั้งหมดนี้ก็เป็นไฟหรือนิวรณ์ที่กั้นจิตของ
เราไม่ให้เกิดความสงบสุขได้ เมื่อเกิดขึ้นกับผู้ใด ผู้นั้นต้องทำลายนิวรณ์ตัวนี้เสียก่อนจึงจะทำใจให้สงบได้
3. ถีนมิทธะ เป็นนิวรณ์ข้อที่ 3 ถีนะและมิทธะเป็นคำติดกัน แต่มิใช่กิเลสตัวเดียวกันเป็นกิเลส
ที่มักเกิดขึ้นมาด้วยกันเสมอ กิเลสทั้งสองนี้เป็นกิเลสที่เกิดขึ้นกับใจแล้วทำให้ใจมัวหมอง ถีนะ แปลว่า ความ
ท้อแท้ใจ หรือหดหู่ใจ ถดถอย ท้อแท้ ซบเซา เหงาหงอย มิทธะ แปลว่า ความเกียจคร้านหรือความง่วงซึม
ความเฉื่อยชา โงกง่วง อืดอาด ซื้อตัน อาการซึมๆ เฉาๆ ที่เป็นไปทางกาย
กิเลสสองตัวนี้เมื่อเกิดขึ้นจะทำให้ขาดความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่างๆ ขาดกำลังใจ
6 DOU ส ม า ธิ 3 อุ ป ส ร ร ค แ ล ะ วิ ธี แ ก้ ไ ข ใ น ก า ร ทำสมาธิ