ความโกรธและพยาบาท: ปัญหาทางจิตใจที่ควรเข้าใจ MD 203 สมาธิ 3  หน้า 44
หน้าที่ 44 / 111

สรุปเนื้อหา

อาการความโกรธเกิดจากจิตที่ร้อนรน อาจส่งผลเสียต่อทั้งตัวเราและผู้อื่น โดยเฉพาะเมื่อมีโทสะ คิดทำลาย ซึ่งอาจลุกลามจนเกิดความพยาบาทเมื่อไม่สามารถทำลายทันที ความไม่พอใจที่เกิดขึ้นแม้เพียงเล็กน้อยสามารถจุดชนวนให้เกิดอารมณ์แค้นเคือง จึงควรละพยาบาทเพื่อให้จิตสงบ ธรรม 6 ประการในพระไตรปิฎกให้ทัศนะเกี่ยวกับการแก้ไขพยาบาท เพื่อการมีจิตที่มีสมาธิและสงบในขณะปฏิบัติธรรม

หัวข้อประเด็น

-ความโกรธและผลกระทบ
-โทสะและพยาบาท
-สาเหตุของความไม่พอใจ
-การแก้ไขพยาบาท
-คำแนะนำจากพระไตรปิฎก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อาการอย่างนี้จึงเรียกว่า เดือดดาล ความโกรธ เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้จิตร้อน ที่ร้อนก็เพราะช่วงความถี่ ของความคิดเร็วเกินไป เหมือนเราเอาฝ่ามือถูกับผิวหนังอย่างเร็วและถี่มากๆ จะมีอาการร้อนขึ้นทันที แต่ ถึงกระนั้น ความโกรธก็เป็นเพียงความวุ่นวายในตัว ถ้าโกรธจัดๆ ก็อาจถึงตัวสั่น มือสั่น ปากสั่น แต่ถ้า ฝึกใจไว้พอสมควร ก็อาจจะระงับได้ แต่ถ้าระงับไม่ไหว หรือไม่ทันท่วงที จิตก็จะมีอาการ คิดหาทาง ประทุษร้ายขึ้นมา คือ คิดทำลายสิ่งที่มาทำให้ตัวขัดใจ เรียกว่า โทสะ โทสะ ได้แก่ความคิดประทุษร้าย คือ คิดทำลาย คิดล้างผลาญ คิดให้เขาเสียหาย ให้ฉิบหาย วอดวายไป เช่น ฆ่าเขา หรือฟ้องร้อง ยึดทรัพย์ เผาบ้านเรือน โทสะนี้เมื่อเกิดขึ้นย่อมเป็นโทษทั้งแก่ตนเอง และแก่ผู้อื่น เวลามีโทสะไหม้ใจ พวกพ้องเพื่อนฝูง จนกระทั่ง พ่อแม่ ลูก ก็มองเห็นเป็นศัตรูไปหมด และ ผลที่สุดแม้แต่ตัวเองก็ไม่เป็นที่พอใจของตัวเอง และเวลาที่จิตถูกครอบงำด้วยโทสะ จะสั่งงานก็ปราศจาก เหตุผล และลุกลามไปถึงคนรอบข้างต่อ เปรียบเสมือนลูกระเบิด พอระเบิดก็จะทำลายตัวเองก่อนเป็น อันดับแรก แล้วจึงไปทำลายวัตถุอื่นๆ ต่อไป พยาบาท เป็นอาการที่ต่อเนื่องจากโทสะ คือ เมื่อคิดทำลายเขา แต่ทำลายไม่ได้ในทันที จึงผูกใจ ไว้ว่า เอาไว้วันหน้าจะแก้แค้น การผูกใจที่จะแก้แค้นนี้เองเป็นพยาบาท เราจะเห็นได้ว่าจุดเริ่มต้นของความพยาบาทนี้ เกิดมาจากความไม่พอใจหรือความไม่ชอบซึ่งอาจ มีอาการได้หลายรูปแบบ เช่น ความอิจฉาริษยา ความรำคาญ ความหงุดหงิด ความโกรธ ฯลฯ ที่มีทั้ง ความไม่พอใจต่อรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ทางกาย และความคิดทางใจ ความไม่พอใจ หรือความรำคาญที่เกิดขึ้นนี้เอง เมื่อเกิดขึ้นกับเราแล้วแม้เพียงเล็กน้อย แล้วถ้า เราสนองความอยากไม่ได้ เราก็จะโทษเหตุภายนอก ว่าสถานการณ์ หรือบุคคลอื่นเป็นสาเหตุ การผลัก ออกจากตัว และกล่าวโทษนี้เอง ที่ทำให้ผู้อื่นประทับอยู่ในใจเราอย่างลึกซึ้ง มันอาจจะทำให้จิตเราคุกรุ่น อยู่ กับอดีตที่เกิดมานานแล้ว และทำลายวินาทีปัจจุบัน ทำลายความสงบของจิตขณะทำสมาธิ ฉะนั้น เมื่อเราทราบว่าใจที่ถูกกระทบกระทั่ง (ปฏิฆนิมิต) อันเกิดจากความไม่พอใจ และเชื่อมโยง ต่อเป็นสาย จนกระทั่งเป็นเหตุให้เกิดพยาบาทขึ้น ก็จงพยายามทำลายต้นเหตุแห่งพยาบาทนี้เสียตั้งแต่จุด เล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้ทำให้ใจของเราพร้อมที่จะทำสมาธิให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป 3.3 วิธีแก้ไขพยาบาท ในพระไตรปิฎกพระอรรถกถาจารย์ได้กล่าวถึงวิธีการเพื่อละพยาบาทเอาไว้ว่า ธรรม 6 ประการย่อมเป็นไป เพื่อละพยาบาท คือ 1 ทีฆนิกาย มหาวรรค, มก. เล่ม 14 หน้า 320. บ ท ที่ 3 พ ย า บ า ท แ ล ะ วิ ธี แก้ไข DOU 35
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More