การปฏิบัติสมาธิและความสำคัญของลมหายใจ MD 203 สมาธิ 3  หน้า 102
หน้าที่ 102 / 111

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการทำสมาธิและการควบคุมลมหายใจ โดยระบุว่าสมาธิที่ถูกต้องจะนำไปสู่ความสว่างทางจิตใจและการขจัดความมืดในจิตใจ แม้ในช่วงต้นที่อาจไม่เห็นผล ลมหายใจเข้าและออกมีความสัมพันธ์ที่สำคัญต่อสภาวะจิตใจของเรา และลมหายใจที่ละเอียดสามารถนำไปสู่สภาวะสงบและรับรู้ถึงภายในได้อย่างแท้จริง โดยไม่ต้องเร่งรีบ ซึ่งเชื่อมโยงกับธรรมชาติที่ค่อยๆ เปิดเผยความสว่าง

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของสมาธิ
-การจัดการลมหายใจ
-กระบวนการเปิดเผยความสว่าง
-การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
-ความสัมพันธ์ระหว่างลมหายใจกับใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พยายามทำต่อไปทุกวัน ไม่ช้าความมืดก็จะค่อยๆ สว่างขึ้นทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งในที่สุด ความสว่าง แห่งธรรมก็จะบังเกิดได้เต็มที่ เมื่อเรามีความเพียรที่ต่อเนื่องกันไป 5. ในกรณีหยุดแล้วไม่เห็นภาพอะไรเกิด ก็อย่าไปรำคาญ อย่าไปหงุดหงิด เดี๋ยวจิตมันหยาบ เรา ต้องหยุดอย่างนั้นเฉยๆ นิ่งๆ แม้ว่าจะมืด ก็หยุดนิ่งอยู่ที่ตรงนี้ กลางความมืด เดี๋ยวมันสว่างหรือสว่างขึ้น แล้ว ก็ยังต้องหยุดนิ่งต่อไปอีก 6. ทำนิ่งๆ นุ่มๆ ทั้งที่เริ่มต้นจะไม่เห็นอะไร ถ้าทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เดี๋ยวแสงสว่างจะเกิดขึ้นเอง เป็นแสงภายใน แสงที่แตกต่างจากแสงภายนอก นุ่มนวล เย็นตา สว่างขึ้นมากลางหยุดนิ่ง คล้ายๆ กับ แสงสว่างที่บังเกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ผุดเกิดขึ้นมาในยามเช้า 6 โมงเช้า 7 โมงเช้า 8 โมง 9 โมง เรื่อยไปเลย จนกระทั่งเที่ยงวัน โดยไม่มีใครไปเร่งเลยว่า ขอให้ดวงอาทิตย์พอผุดขึ้นมาก็ให้เหมือนตอนเที่ยงวันเลย ขบวนการธรรมชาติก็มีวิธีการขจัดความมืดและเปิดเผยความสว่างไปเอง คือ ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป 7.2 กังวลเรื่องลมหายใจ 7.2.1 ลักษณะกังวลเรื่องลมหายใจ ในการปฏิบัติสมาธิ บางท่านเคยฝึกสมาธิมาหลายรูปแบบ เช่น เคยฝึกแบบกำหนดลมหายใจมา ก่อน พอเวลามานั่งสมาธิแบบนึกถึงดวงแก้ว หรือองค์พระ วางใจไว้ที่ศูนย์กลางกาย เลยทำให้นักปฏิบัติ สมาธิบางท่าน เวลาบริกรรมภาวนาไปแล้วรู้สึกว่าคำภาวนาไปพ้องกับลมหายใจเข้าออก ซึ่งทำให้กลัวว่า ทำไม่ถูกวิธี และเกิดการต่อสู้อย่างลึกๆ โดยที่ไม่รู้ตัว ทำให้บางครั้งลมหายใจก็เลยหยาบขึ้นมา บางท่านรู้สึกอึดอัด เพราะลมหายใจจากที่เคยหายใจ เข้าสั้น ออกยาว เข้ายาว ออกสั้น แล้ว รู้สึกเหมือนลมหายใจจะหยุด จึงคิดกลัวตายขึ้นมา 7.2.2 ความสัมพันธ์ของลมหายใจกับใจ จากการศึกษาพบว่า เวลาที่คนเราหายใจ ลมหายใจเข้าออกไม่ได้ไปสุดที่ปอด แต่จะไปสุดที่ กลางท้อง โดยลมหายใจจากปากช่องจมูกผ่านทางฐานต่างๆ (ฐานทั้ง 6 ฐาน) ในร่างกายและจะไปสุด ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อันเป็นตำแหน่งที่เป็นฐานที่ตั้งใจ ลมที่หายเข้าไปที่ใจนี้ จึงเรียกชื่อได้ว่า ลมหายใจ ลมหายใจนี้แม้จะเป็นของหยาบแต่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสภาพของใจ คือ ถ้าใจละเอียดแม้ ลมที่ผ่านเข้าไปจะเป็นลมหยาบ แต่ใจที่ละเอียดก็จะกรองลมนั้น ผ่านออกมาจากตัวของเราให้เป็นลมที่ ละเอียดอ่อนได้ ถ้าลมหายใจที่ผ่านเข้าไป สู่ใจที่ร้อนๆ ลมหายใจที่ผ่านออกมาก็ร้อนเหมือนกัน และเมื่อใจ ละเอียดเป็นสมาธิ ลมหายใจนี้ก็จะละเอียดจนบางครั้งมีลักษณะเหมือนลมหยุด บทที่ 7 อุ ป ส ร ร ค ต่าง ๆ และวิธีแก้ไข DOU 93
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More