ความอึดอัดและวิธีแก้ไข MD 203 สมาธิ 3  หน้า 110
หน้าที่ 110 / 111

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความอึดอัดที่เกิดจากการนั่งในท่าไม่เหมาะสมหรือเพื่อในอากาศไม่ดี เมื่อรู้สึกไม่สบายหรือมีอาการเมื่อยล้า สามารถใช้วิธีการปรับเปลี่ยนท่าทาง หรือการเลือกเสื้อผ้าที่สะดวกสบายในการนั่ง รวมทั้งการให้เวลาในการพักผ่อนจิตใจก่อนการปฏิบัติสมาธิ หากเกิดอาการอึดอัดหลังจากนั่งดีมาแล้ว อาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ การรู้จักรับมือกับอุปสรรคจะช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าถึงสภาวะอาทิตย์ได้ตามที่ปรารถนา ศึกษาแนวทางทั้งนี้เพื่อการปฏิบัติสมาธิที่มีประสิทธิภาพและทำให้การเข้าถึงจิตใจภายในเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น โดยไม่ควรลุกจากที่นั่งจนกว่าจะผ่านด่านทางอารมณ์นี้ไปได้.

หัวข้อประเด็น

- อาการความอึดอัด
- สาเหตุความอึดอัด
- วิธีการแก้ไขความอึดอัด
- ความสำคัญของการปรับท่าทาง
- การเลือกเสื้อผ้าที่ถูกต้อง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

7.8 ความอึดอัด 7.8.1 ลักษณะของความอึดอัด บางคนนั่งไปนานๆ เกิดอาการไม่สบาย ไม่พร้อม เกิดอาการผิดปกติทางร่างกาย เช่น ป่วย เพลีย หิว ง่วง หรืออิ่มจนเกินไป หรือเกิดอาการอึดอัด รู้สึกเมื่อยเร็ว หงุดหงิด อยากจะลุก บางทีก็นั่งมานาน พอสมควรแล้ว ก็เกิดอาการล้า ท้อ เป็นต้น 7.8.2 สาเหตุ อาการดังกล่าวเกิดเพราะการนั่งอยู่ในที่อากาศไม่ระบาย นั่งในท่าไม่ถูกต้อง หรือบางคนก็ใส่ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มไม่เหมาะสม เช่น นุ่งกางเกงยีนส์รัดเกินไป หนาเกินไป หรือสวมเสื้อผ้าสั้นเกินไป ยาวเกินไป หรือประณีตเกินไป ทำให้ต้องคอยระมัดระวังในการนั่งเสียจนไม่สามารถรวมใจให้สงบได้ 7.8.3 วิธีแก้ไข ถ้านั่งรู้สึกอึดอัดมาก จนอยากจะลุก แสดงว่าทำผิดวิธีมาตั้งแต่ต้น ให้ลุกขึ้นไปเปลี่ยนอิริยาบถ หรือให้ปรับอารมณ์ให้สบายก่อนมานั่ง เช่น นั่งพักเฉยๆ จะหลับตาหรือไม่หลับตาก็ได้ ต่อเมื่อรู้สึกพร้อม แล้วจึงค่อยหลับตาลงอย่างสบาย ถ้าปวดเมื่อยง่าย ให้ยื่นเส้นยืดสาย ให้ร่างกายผ่อนคลาย แล้วจึงค่อย มานั่ง ถ้าเป็นเพราะเสื้อผ้า ก็ต้องสวมเสื้อผ้าที่ไม่รัดเกินไป โปร่งๆ เบาๆ และไม่ควรสวมเสื้อผ้าที่ต้อง อาศัยการดูแลมากเกินไป ใจจะได้ไม่ต้องกังวล แต่สำหรับกรณีถ้านั่งดีมาตลอดแล้วมาอึดอัดในภายหลัง แสดงว่าสภาพใจกำลังจะเปลี่ยน คือ เป็นช่วงรอยต่อระหว่างลมหายใจจะเปลี่ยนเป็นลมหายใจละเอียด ห้ามลุกเด็ดขาด เพราะถ้าผ่านด่านนี้ไปได้ ก็จะสำเร็จ แต่ถ้ายอมแพ้ พอใจกำลังจะรวมถึงจุดใกล้ดี จะเจอประสบการณ์นี้อีก และจะติดอยู่ตรงนี้ไม่ ก้าวหน้าสักที ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นอุปสรรค และแนวทางแก้ไข ขอให้นักปฏิบัติสมาธิทุกท่านได้ลองตรวจสอบ ตนเองดูว่า ขณะนี้เราติดเรื่องอะไรอยู่ และลองหาวิธีการแก้ไข ทำให้ถูกต้องวิธีการ ในไม่ช้าเราก็จะ สามารถเข้าถึงความสว่าง เข้าถึงดวงธรรม เข้าถึงกายภายในได้สมใจปรารถนากันทุกคน บทที่ 7 อุ ป ส ร ร ค ต่าง ๆ และวิธีแก้ไข DOU 101
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More