การพัฒนาจิตด้วยเมตตาภาวนา MD 203 สมาธิ 3  หน้า 45
หน้าที่ 45 / 111

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้สำรวจการกำหนดนิมิตในเมตตาเป็นอารมณ์ซึ่งสนับสนุนให้เกิดเมตตา เพื่อแก้ไขพยาบาทตามหลักคำสอนที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค การประกอบเมตตาภาวนาอย่างต่อเนื่องและการแผ่เมตตาไปทั่วทิศนั้นเป็นวิธีการที่จะช่วยทำให้จิตใจปราศจากพยาบาท โดยถือความรักใคร่ต่อสัตว์ทุกชนิดเป็นหลัก นอกจากนี้ยังพูดถึงการเจริญเมตตาในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งสามารถแผ่ไปยังผู้ที่ไม่ชอบและมีกระบวนการในการสร้างมิตรภาพและความสงบในใจได้ ทั้งยังชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของกัลยาณมิตรในการฝึกเมตตานี้. สาระสำคัญจะอยู่ในหลักของการเจริญภาวนา และการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ในจิตใจ ถ้าหากมีหลักการที่ชัดเจน.

หัวข้อประเด็น

- การกำหนดนิมิตในเมตตา
- การเจริญเมตตาอย่างต่อเนื่อง
- วิธีการแก้ไขพยาบาท
- ความรักใคร่ในสัตว์
- ความสำคัญของกัลยาณมิตร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1. การกำหนดนิมิตในเมตตาเป็นอารมณ์ 2. การประกอบเนืองๆ ซึ่งเมตตาภาวนา 3. การพิจารณาถึงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน 4. การทำให้มากซึ่งการพิจารณา 5. ความมีกัลยาณมิตร 6. การพูดแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย 3.3.1 การกำหนดนิมิตในเมตตาเป็นอารมณ์ คือ การกำหนดนิมิตที่สนับสนุนให้เกิดเมตตา การ แก้ไขพยาบาทนั้นวิธีการโดยตรงที่จะแก้ไขคือการเจริญเมตตา เมตตานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ใน สังยุตตนิกายมหาวารวรรค ว่า “เป็นอาหารเพื่อความไม่เกิดแห่งพยาบาทที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อละพยาบาท ที่เกิดขึ้นแล้ว”1 3.3.2 การประกอบเนืองๆ ซึ่งเมตตาภาวนา คือ การเจริญเมตตาเนืองๆ โดยกำหนดเมตตา กัมมัฏฐาน ด้วยการแผ่เมตตาไปทั่วทิศโดยเจาะจงหรือไม่เจาะจง อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมละพยาบาทได้ วิธีการแผ่เมตตาตามหลักปฏิบัติในคัมภีร์ เมตตา คือ ความปรารถนาดี รักใคร่ในสัตว์ทั้งหลาย เป็นธรรมชาติชนิดที่เกิดขึ้นในจิต มี สภาวะปราศจากความโกรธในสัตว์ผู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจ นำความรู้สึกอันนี้มาเป็นอารมณ์ในสมาธิมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ถูกใจ ประเภทที่หนึ่ง เป็นที่รักใคร่ชอบใจธรรมดาทั่วไป เช่น หมู่ญาติสนิทมิตรสหาย คนใกล้ชิด คนที่ ประเภทที่สอง เป็นประเภทที่เกิดขึ้นได้ด้วยการเจริญภาวนา คือในขณะเมื่อเจริญภาวนาด้วย การแผ่เมตตานั้น ในระยะต้นๆ จะกระทำได้ในเฉพาะคนที่รักที่ชอบใจธรรมดา คือในประเภทที่หนึ่ง แต่เมื่อ ปฏิบัติไปจนถึงขึ้นอุปจารภาวนา (สมาธิเฉียดฌาน) จิตใจในขณะนั้นจะแผ่เมตตาได้ทั่วไปในสัตว์ทั้งหลายหมด แม้ในผู้ที่เป็นศัตรู ผู้ที่ไม่ชอบ เกลียดชัง สัตว์ บุคคลทั้งหมด เมื่อเรานึกถึงหรือมองดูผู้ใดก็ตามด้วยความรู้สึกเมตตาแล้ว จิตใจจะไม่มีความรู้สึกเกลียดชัง มี แต่ความรักใคร่ ชื่นชม ความรักใคร่ชื่นชมนี้ยังแบ่งออกได้เป็นอีก 2 ชนิด คือ - สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, มก. เล่ม 30 ข้อ 359 หน้า 188. 36 DOU ส ม า ธิ 3 อุ ป ส ร ร ค แ ล ะ วิ ธี แก้ ไ ข ใ น ก า ร ทำสมาธิ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More