ความกังวลที่มีผลต่อการทำสมาธิ MD 203 สมาธิ 3  หน้า 77
หน้าที่ 77 / 111

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความกังวลที่ส่งผลต่อการทำสมาธิ เช่น กังวลเรื่องกิจการงานต่างๆ, การเดินทาง, เครือญาติ, ความป่วยไข้ และการศึกษา ซึ่งความกังวลเหล่านี้อาจทำให้ไม่สามารถทำสมาธิได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น ผู้ปฏิบัติจึงควรหาวิธีการตัดความกังวลเหล่านี้ออก เพื่อที่จะได้มีโอกาสในการทำสมาธิอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การรักษาสุขภาพจิตใจและกายให้ดีเป็นสิ่งสำคัญในการฝึกสมาธิ และการมีความเข้าใจในสภาพธรรมที่ไม่เที่ยงก็จะช่วยในการพิจารณาและลดความกังวล

หัวข้อประเด็น

-ความกังวลเรื่องกิจการงาน
-ความกังวลเรื่องการเดินทาง
-ความกังวลเรื่องเครือญาติ
-ความกังวลเรื่องความป่วยไข้
-ความกังวลเรื่องการศึกษา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

5. ความกังวลเรื่องกิจการงานต่างๆ กิจกรรมต่างๆ ที่อ้างถึงในที่นี้เป็นภาระที่จำเป็นจะต้องทำ เช่นการซ่อมบำรุงอาคารสถานที่ การ สร้างอาคารใหม่ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเช่นนี้ จะต้องรู้ว่าช่างไม้และคนงานอื่นๆ ได้ทำงานที่ได้รับมอบ หมายไปแล้วหรือยัง และเขาจะต้องยุ่งอยู่กับกิจกรรมน้อยใหญ่ ดังนั้น กิจกรรมเหล่านั้นจึงเป็นปลิโพธ ที่จะต้องตัดออกไป บางท่านเป็นชาวสวน ชาวไร่ ก็คิดว่า ตอนนี้ฝนไม่ตก น้ำก็ไม่มี กังวลว่าสวนจะเสียหาย ถ้าค้าขายก็คิดว่า การค้าขายจะเสียหาย ถ้ามานั่งสมาธิ จะไม่มีคนดูแล โดยทำนองดังนี้ ถ้างานที่จะต้อง ทำมีอยู่เล็กน้อย ก็ควรรีบทำให้เสร็จ แต่ถ้ามีมาก หรือเป็นงานสาธารณประโยชน์ที่มีงานติดพัน ถ้าหาก สามารถหาผู้มีความรู้ความสามารถให้ดูแลแทนได้ก็ควรมอบให้เป็นภาระแก่ผู้นั้น เพื่อเราจะได้มีโอกาสทำ สมาธิบ้าง และเมื่อปลีกตัวมาแล้ว ก็ให้ตัดกังวล อย่าไปคิดถึงอยู่ในขณะที่เรากำลังนั่งภาวนา เพราะเป็น ตัวกันไม่ให้จิตสงบได้ 6. ความกังวลเรื่องการเดินทาง หมายถึง การเดินทางไกลก็จะเหนื่อยอ่อน ทำให้ไม่สามารถนั่งสมาธิได้ดี เช่น เตรียมตัวเดินทาง ไปต่างจังหวัดบ้าง ต่างประเทศบ้าง ก็มีความกังวลเรื่องการเดินทาง ยิ่งเดินทางไกลเพียงใด ความกังวลก็ มีมากเพียงนั้น เพราะฉะนั้น ผู้นั่งสมาธิต้องตัดความกังวลเรื่องการเดินทางเสีย เมื่อนั่งสมาธิแล้ว ทำ ตามกําหนดแล้วก็เดินทาง 7. ความกังวลเรื่องเครือญาติ ความกังวลในข้อนี้เป็นความกังวลที่อาจตัดได้ง่าย เพราะทุกคนเกิดมาต่างก็มีพ่อแม่ ญาติ พี่น้อง ซึ่งถ้ามีการป่วย หรือความลำบากเกิดขึ้นแก่ญาติเหล่านั้น ก็เป็นปลิโพธสำหรับผู้ปฏิบัติ ทำให้ต้องคอยกังวลว่า ใครจะดูแลพ่อแม่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องนั้น เป็นต้น ดังนั้น ผู้ปฏิบัติควรตัดความกังวล ทำให้เขาหายป่วยด้วย การดูแลรักษาเยียวยาให้หาย หลังจากหายจึงควรไปเจริญสมาธิภาวนา 8. ความกังวลเรื่องความป่วยไข้ โรคที่เกิดขึ้น เราต้องรีบบำรุงรักษาให้หาย แต่บางท่านรักษาไม่หาย เพราะบางคนเป็นโรค ชนิดเรื้อรัง โรคบางอย่างเราควรรักษาให้หายเสียก่อน แล้วมาปฏิบัติกรรมฐาน แต่โรคหรือการป่วยไข้ บางอย่างนั้น เราจะรอให้หายแล้วมาปฏิบัติกรรมฐานนั้นเป็นไปไม่ได้ เราทุกคนเกิดมา ย่อมมีการป่วยไข้ เป็นธรรมดา เพราะถือว่าการป่วยไข้ ไม่ใช่อุปสรรคอย่างสำคัญต่อการปฏิบัติ แต่จะทำให้ได้พิจารณา สภาพธรรม เห็นความไม่เที่ยงได้ชัด เพราะฉะนั้น ความกังวลเรื่องป่วยไข้ถือว่าเป็นตัวอุปสรรคในการ ปฏิบัติธรรมของเรา เว้นไว้แต่เราป่วยหนักจริงๆ ตรงนี้ก็ไม่เป็นไร 9. ความกังวลเรื่องการศึกษา การเอาใจใส่ หรือท่องบ่นบางสิ่งบางอย่างจัดเป็นความกังวล นอกจากนี้บางทีก็คำนึงถึงบทเรียน 68 DOU ส ม า ธิ 3 อุ ป ส ร ร ค แ ล ะ วิธี แก้ ไ ข ใ น ก า ร ทำสมาธิ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More