วิธีการแก้ไขความง่วงในสมาธิ MD 203 สมาธิ 3  หน้า 65
หน้าที่ 65 / 111

สรุปเนื้อหา

พระราชภาวนาวิสุทธิ์แนะนำว่าการทำสมาธิในช่วงบ่ายอาจยากกว่าช่วงเช้าเพราะความรู้สึกอึดอัดและง่วง หลังการรับประทานอาหารให้ทำการเปลี่ยนอิริยาบถ ดำรงอยู่กลางแจ้ง เลือกคบหากัลยาณมิตรที่ส่งเสริมการทำสมาธิ และพูดคุยประเด็นที่เกี่ยวกับการเพียรในการทำสมาธิ ซึ่งจะสามารถช่วยให้พ้นจากความง่วงและทำให้มีสติในการปฏิบัติธรรม

หัวข้อประเด็น

-การทำสมาธิ
-ความง่วงในการภาวนา
-การเปลี่ยนอิริยาบถ
-การมีอากาศถ่ายเท
-ความสำคัญของกัลยาณมิตร
-การปรารภความเพียร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ได้แนะนำว่า ถ้าทานก็ต้องทานให้พอดี แล้วก็นั่งหลังจาก ให้อาหารย่อยสักชั่วโมงหนึ่ง ไปเดินเปลี่ยนอิริยาบถ การทำภาวนาในภาคบ่ายนี้ จะยากกว่าภาคเช้า เพราะ ว่าหลังอาหาร เราอาจจะอึดอัดเพราะอาหารยังย่อยไม่สมบูรณ์หรือบางทีอาจจะทำให้เราง่วงเราซึม 2. การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ คือ ให้สังเกตดูว่าเราอยู่ในอิริยาบถใดแล้วเกิดอาการง่วง ก็ให้ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถเป็นอิริยาบถอื่น เช่น ในขณะนั่งแล้วเกิดอาการง่วง เราอาจจะลุกไปล้างหน้า เข้า ห้องน้ำสักครู่ ให้เกิดอารมณ์สบาย แล้วจึงกลับมานั่ง เป็นต้น 3. การใส่ใจถึงอาโลกสัญญา คือความสำคัญว่าสว่าง 4. การอยู่กลางแจ้ง คือ การไม่อยู่ในห้องมืด หรือห้องแคบ ที่อากาศไม่เพียงพอ เพราะจะทำให้ เกิดอาการซึมทึม ง่วง อ่อนเพลียตามมาได้ แต่การอยู่กลางแจ้ง หรืออาจอยู่ในห้องที่มีความโปร่ง มี อากาศถ่ายเทดี จะทำให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า เป็นการขจัดความโงกง่วงได้อย่างดี 5. ความมีกัลยาณมิตร คือ หมั่นเข้าหากัลยาณมิตรที่ไม่มีความง่วงโงก เพราะถ้าเราคบหาคนที่ ชอบง่วง มักนอน เกียจคร้าน ก็จะทำให้เราพลอยมีพฤติกรรมเช่นนั้นไปด้วย ดังนั้น จึงควรแสวงหาคนที่ ปรารภความเพียร ตั้งใจนั่งสมาธิ และไม่ค่อยเกิดความง่วง เพลีย หดหู่ และคอยสอบถามวิธีการจากเขา อันจะเป็นกำลังใจให้เราได้ต้นแบบและได้เทคนิควิธีการที่จะสามารถนำมาใช้แก้ไขความง่วงหลับของตัวเราได้ 6. การเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย คือ พูดคุยกันเรื่องของการปรารภความเพียร การหมั่น เจริญสมาธิภาวนาในอิริยาบถต่างๆ อันจะเป็นกำลังใจในการปฏิบัติธรรม ในข้อนี้มีตัวอย่างของคุณยาย อาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ที่ท่านตั้งใจปรารภความเพียร คือ ในสมัยที่ท่านนั่งสมาธิอยู่ที่ วัดปากน้ำภาษีเจริญ เวลาที่เลิกนั่งสมาธิ ออกไปนอกโรงงานทำวิชชา ท่านก็จะตรึกธรรมะ ประคองใจไว้ ที่ศูนย์กลางกายอย่างตลอดต่อเนื่อง ซึ่งหลายคนพอเลิกนั่ง ออกนอกห้องก็จะปล่อยใจไป พูดคุย ทําอะไร กันไปอย่างสนุกสนาน แต่คุณยายประคองใจตลอด ท่านบอกว่า “จะเดินปล่อยใจ พูดคุยกันไป หรือจะเดิน ประคองใจไป ก็ถึงหอฉันเหมือนกัน ดังนั้นประคองใจดีกว่า” พระมงคลเทพมุนี ได้เคยถามคุณยายว่า “เอ็ง ออกไปนอกห้อง ใจเอ็งอยู่ตรงกลางหรือเปล่า” คุณยายก็ตอบว่า “อยู่เจ้าข้า” ดังนั้น หากในขณะทำสมาธิ เกิดจากสภาพของจิตใจที่เบื่อหน่าย เกียจคร้าน ไม่ชอบใจ เราก็ต้อง ทำลายความรู้สึกนั้น อาจจะลืมตาแล้วหลับตาใหม่ หรือ ลุกไปเปลี่ยนอิริยาบถ หรือนึกถึงเรื่องราว ตัวอย่างผู้มีความเพียร และคุณของการทำสมาธิ หรือใช้อุบายแก้ง่วงก็ได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ล้วนแต่เป็นวิธีที่ จะทำให้เราละความง่วงหลับ และเข้าถึงใจที่เป็นสมาธิอย่างละเอียดอ่อนยิ่งๆ ขึ้นไป 1 พระราชภาวนาวิสุทธิ์, พระธรรมเทศนา, พฤษภาคม 2542 56 DOU สมาธิ 3 อุ ป ส ร ร ค แ ล ะ วิ ธี แ ก้ ไ ข ใ น ก า ร ทำสมาธิ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More