ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 1
อุปสรรคในการปฏิบัติธรรม
การปฏิบัติสมาธิแม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก ที่จะต้องมีการตระเตรียมอุปกรณ์ หรือใช้เครื่องไม้
เครื่องมือต่างๆ มากมาย ไม่ต้องไปแสวงหา เดินทางไกลไปจนรอบโลก ไม่ต้องใช้สถานที่ที่ใหญ่โตมโหฬาร
ขอเพียงให้มีร่างกายและมีความพร้อมของจิตใจ กับที่นั่งพอประมาณก็สามารถที่จะฝึกสมาธิได้แล้ว แต่
ทว่าความยากในการทำสมาธินั้น อยู่ที่การต้องต่อสู้กับอารมณ์ ความรู้สึก นึกคิด ภาพ เรื่องราว หรือ
เหตุการณ์ต่างๆ รวมทั้งสภาพที่ไม่สงบนิ่งที่ปรากฏเกิดขึ้นอยู่ภายในจิตใจนั่นเอง สิ่งเหล่านี้เอง ที่เป็น
อุปสรรคตัวสำคัญที่ทำให้การปฏิบัติสมาธิต้องพบกับความยุ่งยาก และใจของเราก็ไม่สามารถที่จะสงบเป็น
สมาธิได้
นักปฏิบัติสมาธิจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องศึกษาเรียนรู้และทำความรู้จักกับอุปสรรคที่
เป็นตัวขัดขวางสภาวะจิตที่เป็นสมาธิ เพื่อจะได้เข้าใจและหาวิธีแก้ไขได้อย่างเหมาะสม
1.1 อุปสรรคต่อจิตที่เป็นสมาธิ
จากที่ได้ศึกษาพบว่า จิตของเราทุกคนนั้นมีสภาพบริสุทธิ์เป็นธรรมชาติประภัสสร คือผุดผ่อง แต่
มาขุ่นมัวไป เพราะกิเลสที่จรมา ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
“ปภสฺสรมิท ภิกฺขเว จิตต์, ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฐ์” แปลว่า
“ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้เป็นธรรมชาติประภัสสร แต่จิตนี้เศร้าหมองไปเพราะกิเลสทั้งหลายที่จรมา
เมื่อพูดถึงกิเลสที่ครอบงำจิตของสัตว์โลกอยู่นั้น มีอยู่ 3 ชนิด คือ
1. กิเลสอย่างหยาบ คือ กิเลสทุจริตที่ฟุ้งออกมาทางกายและวาจา
2. กิเลสอย่างกลาง คือ กิเลสที่กลุ้มรุมจิตใจให้เดือดร้อนกระวนกระวาย ได้แก่ กิเลสพวกนิวรณ์
3. กิเลสอย่างละเอียด คือ อนุสัยกิเลสที่นอนสงบนิ่งอยู่ในขันธสันดานของแต่ละบุคคล ผู้ซึ่งยัง
ไม่หมดกิเลส
อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต, มก. เล่ม 32 ข้อ 50 หน้า 95.
4 DOU ส ม า ธิ 3 อุ ป ส ร ร ค แ ล ะ วิ ธี แก้ไข ใ น ก า ร ทำสมาธิ