ข้อความต้นฉบับในหน้า
2. เกิดจากการอ่าน
เมื่อได้อ่านแล้ว คิดไปว่ารู้เอง ทำให้เปลี่ยนจากนักปฏิบัติ กลายเป็นนักวิจัย วิจารณ์ ในสิ่งที่ตัว
เองยังทำไม่ได้ มองไม่เห็น และไม่เข้าถึง เมื่อถึงคราวปฏิบัติจริง จึงนึกถึงแต่ทฤษฎี ทำให้ใจวอกแวกไปมา
นอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว อาจทำให้เกิดความเครียดเพราะคิดว่าเป็นไปไม่ได้ และอาจเป็นทางให้คิดผิดจน
เป็นมิจฉาทิฐิได้
3. เกิดจากการเข้าใจผิด
เกิดจากการฟังมาก อ่านมาก แล้วนำมาสรุปเองจนเกิดความมั่นใจว่า ตัวเองเป็นผู้รู้ เมื่อปฏิบัติ
จริงจึงมัวแต่วิจารณ์ หรือพิจารณาประสบการณ์ของตัวเอง เข้ากับสิ่งที่เคยได้อ่าน ได้ฟังมาก เกิดการจัด
ระดับการปฏิบัติธรรมของตัวเอง นอกจากจะหลงผิดแล้ว ยังรู้เห็นไม่ตรงความเป็นจริง หรือที่เรียกว่า เพี้ยน
7.5.3 วิธีแก้ไข
ในพระไตรปิฎก พระสัมพุทธสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสถึง การพิจารณาโดยแยบคาย เป็นเหตุให้
วิจิกิจฉาดับ คือการใช้ปัญญาในการพิจารณา (โยนิโสมนสิการ) ค้นหาเหตุผลของสิ่งที่สงสัย เช่นว่า
“คนเราตายแล้วเกิดหรือเปล่า มารดาบิดามีคุณหรือไม่ กรรมฐานที่บำเพ็ญอยู่นี้ถูกหรือเปล่า” ก็ต้องหา
เหตุผลตามความจริง โดยไต่ถามท่านผู้รู้ หรือใช้ปัญญาใคร่ครวญแล้วปฏิบัติทดลองด้วยตัวเอง ด้วย
การทำสมาธิ วิจิกิจฉาก็จะดับไปได้
ในการปฏิบัติสมาธิ เมื่อความสงสัยอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นในสมาธิ เรามีวิธีแก้ไข ดังต่อไปนี้ คือ
1. ทำใจให้หยุดนิ่งเฉยๆ ไม่กำหนดอะไรเลย
2. บางคนที่เห็นนิมิตและสงสัยว่า คิดขึ้นมาหรือเปล่า สิ่งไหนเป็นสิ่งมีจริง หากมีคำถามอย่างนี้
แสดงว่านิมิตที่เห็นเป็นแค่อุคคหนิมิต หรือปฏิภาคนิมิต เพราะถ้าเข้าถึงสิ่งที่เป็นจริงแล้ว คำถามนี้จะไม่เกิดขึ้น
เราจะรู้เอง เมื่อเราเข้าไปถึงจริงๆ จะไม่มีความรู้สึกสงสัย แต่ที่ยังมีอยู่เพราะยังไม่ชัดเจน ไม่มั่นคง ซึ่งเรา
ควรจะทำเฉยๆ กับสิ่งที่เราเห็น แว้บไป แว้บมา อย่าเพิ่งไปตั้งคำถามเพื่อแสวงหาคำตอบ ว่ามันใช่หรือไม่ใช่
ถ้าเข้าถึงจริงๆ ความรู้สึกสงสัยจะไม่มีเลยแม้แต่นิดเดียว
3. และขอให้เชื่อมั่นในการเห็น และรักษาความเห็นให้ต่อเนื่อง แล้วความเห็นนั้นจะชัดยิ่งกว่า
ลืมตาเห็น
4. เมื่อเกิดความสงสัยในเรื่องศูนย์กลางกาย ว่าวางใจถูกตำแหน่งหรือไม่ เมื่อเราทราบถึง
ตำแหน่งศูนย์กลางกายฐานที่ 7 แล้ว ว่าอยู่ที่ตรงกลางท้อง แต่ในแง่ของการปฏิบัติ อย่าไปมัวเสียเวลา
* อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต, มก. เล่ม 32 ข้อ 21 หน้า 49
98 DOU สมาธิ 3 อุปสรรค และวิธีแก้ไขในการทำสมาธิ