อุทธัจจะและกุกกุจจะในพระอภิธรรมปิฎก MD 203 สมาธิ 3  หน้า 72
หน้าที่ 72 / 111

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้อธิบายเกี่ยวกับอุทธัจจะและกุกกุจจะตามพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งอุทธัจจะหมายถึงความฟุ้งซ่านและวุ่นวายของใจ ขณะที่กุกกุจจะเกี่ยวกับการให้ความสำคัญที่ไม่ถูกต้อง ส่วนการใช้เปรียบเทียบถึงความเป็นทาสในการทำตามคำสั่งของนายเงินนั้นสะท้อนถึงความไม่อิสระที่เกิดจากการถูกครอบงำของอุทธัจจกุกกุจจะ สิ่งเหล่านี้ทำให้การปฏิบัติธรรมไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจไว้ เช่นเมื่อพบความผิดพลาดก็ไม่ได้ปล่อยวาง ทำให้เกิดความยุ่งเหยิงในจิตใจ การเบี่ยงเบนความสนใจไปสู่กิจกรรมอื่นนอกเหนือจากการภาวนา ประเภทของความฟุ้งจะมีทั้งภาพ, เสียงของความคิด และการฟุ้งที่รวมทั้งสองอย่าง การเข้าใจธรรมนั้นจึงเป็นกุญแจสำคัญในการปฏิบัติธรรมและพัฒนาจิตใจให้เป็นอิสระจากความฟุ้งซ่าน.

หัวข้อประเด็น

-ลักษณะอุทธัจจะ
-ลักษณะกุกกุจจะ
-ผลกระทบจากความฟุ้งซ่าน
-การเปรียบเทียบความเป็นทาส
-ประเภทของความฟุ้งในจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ในพระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคิณี ได้อธิบายลักษณะของอุทธัจจะ และกุกกุจจะไว้ว่า อุทธัจจะ เป็นความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความวุ่นวายใจ ความพล่านแห่งจิต กุกกุจจะ เป็นความสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร ความสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร ความสำคัญว่ามีโทษในของที่ไม่มีโทษ ความสำคัญว่าไม่มีโทษในของที่มีโทษ การรำคาญ กิริยาที่ รำคาญ ความรำคาญ ความเดือดร้อนใจ ความยุ่งใจ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบเสมือนคนที่เป็นทาส โดยมีคำอธิบายว่า ขึ้นชื่อว่า คนที่เป็นทาส ย่อมต้องก้มหน้าทำงานไปตามคำสั่งของนายเงิน เช่นเมื่อมีกิจรีบด่วนเกิดขึ้น นาย เงินสั่งด้วยถ้อยคำอันดุร้าย ว่า “เฮ้ย...ไอ้ขี้ข้า แกจงรีบไปทำสิ่งนั้นโดยเร็ว ถ้าขืนชักช้าข้าจะตัดมือและ เท้าของเจ้า” แต่พอได้ยินคำสั่ง ย่อมขมีขมัน รีบลนลานไปทำงานตามคำสั่งทันที ไม่อิสระแก่ตน แม้เมื่อมี มหรสพแสนสนุก ก็ไม่มีโอกาสที่จะได้ดูได้เห็นอย่างสบายเหมือนคนอื่น เพราะค่าที่ตนเกรงความผิด โดยที่ ตนไม่เป็นอิสระ ต้องคอยมาทำงานตามที่นายสั่ง อุปมาข้อนี้ฉันใด คนที่มีอุทธัจจกุกกุจจะ เข้าครอบงำดวงใจ ก็ย่อมเป็นเช่นนั้น เช่นเมื่อตน ต้องการบำเพ็ญสมณธรรม จึงเข้าไปสู่ป่าอันเป็นสำนักปฏิบัติ อยู่กับเพื่อนนักปฏิบัติธรรมด้วยกัน โดยหมายว่า ตนต้องการวิเวก ครั้นได้พบความผิดพลาดเล็กน้อย แห่งเพื่อนปฏิบัติธรรมหรือของตนเองซึ่งความผิดพลาดนั้น จะเข้าถึงขั้นความเป็นโทษหรือไม่ตนก็ไม่รู้ก็ให้เกิดความอุดอู้ฟุ้งซ่านรำคาญใจทำลายความวิเวกเสียเอง เพราะ ทนอดใจไม่ไหว วิ่งเข้าสู่สำนักของพระวินัยธร เพื่อจะให้ท่านชำระอธิกรณ์เช่นนี้ ความเสวยวิเวกสุข และ การปฏิบัติธรรมที่มุ่งหมายไว้จักมีมาแต่ที่ไหน เพราะเขาถูกนายคืออุทธัจจะกุกกุจจะ มันใช้ให้เที่ยววิ่ง พล่านลนลาน รีบกระทำกิจอื่นนอกเหนือจากการปฏิบัติธรรม อันเป็นกิจโดยตรง ต่อเมื่อได้บำเพ็ญภาวนา จนสามารถละอุทธัจจกุกกุจจะได้ ก็ย่อมเป็นไท มิใช่ทาส ประเภทของความฟุ้ง โดยธรรมชาติของใจมนุษย์นั้น เมื่อไม่หยุดนิ่งแล้ว อาการที่เกิดขึ้นมาในใจเวลาที่เราฟัง จะมีการ ฟุ้ง 3 แบบ คือ 1. ฟุ้งเป็นภาพ เป็นเรื่องราวชัดเจน 2. ฟุ้งเป็นเสียงของความคิด คิดโน่นคิดนี่ เหมือนพูดกับตัวเอง เสียงโน่นเสียงนี่ เป็นสัญญาจำเอาไว้ ทบทวนคิดไป แล้วแต่ที่เราจะปรุงแต่งไป 3. ฟุ้งมีทั้งภาพและเสียงประกอบกัน - อภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี, มก. เล่ม 76 ข้อ 352 หน้า 442. 2 พระพรหมโมลี (วิลาส ญาณวโร), ภาวนาทีปนี, (กรุงเทพฯ: วัดยานนาวา วัดดอน วัดพระธรรมกาย, 2544), หน้า 52 บ ท ที่ 5 อุ ท ธ จ จ ก ก ก จ จ ะ แ ล ะ วิ ธี แก้ไข DOU 63
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More