การเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบายและการปฏิบัติในสมาธิ MD 203 สมาธิ 3  หน้า 82
หน้าที่ 82 / 111

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอแนวทางในการปฏิบัติสมาธิและการพูดคุยเพื่อสร้างความสงบในใจ โดยเน้นการมองภาพและความคิดที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องต่อต้าน ท่านพระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้ให้แนวทางการจัดการกับความคิดที่ฟุ้งซ่าน และกระตุ้นให้เรายอมรับความเป็นมนุษย์ธรรมดา โดยการพัฒนาจิตใจให้สงบสุข การดูไปเรื่อยๆ จะช่วยให้เกิดความรู้สึกโล่งและสบาย.

หัวข้อประเด็น

-การเจรจาที่สบาย
-หลักการปฏิบัติสมาธิ
-การจัดการกับความคิดฟุ้งซ่าน
-การยอมรับความธรรมดาของมนุษย์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

6. การเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย เรื่องที่สบายต่อใจที่ไม่ฟุ้งซ่าน ก็เป็นเรื่องของความควร ไม่ควร ทั้งควร ไม่ควรในการคิด พูด ทํา เพราะสิ่งทั้งหลายถ้าลองได้ลงมือกระทำไปทางใดทางหนึ่ง ย่อมปรากฏเป็นภาพให้เกิดขึ้นในใจ หากเราได้ คนที่คอยพูดคุยแต่เรื่องที่ดี ชวนให้มักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร ย่อม ทำให้เราไม่ไปปล่อยใจฟุ้งซ่าน ให้ใจไม่สงบ แต่จะทำให้มีกำลังใจที่จะนำใจมาอยู่กับเนื้อกับตัวของเราเอง 5.3.2 ตามหลักปฏิบัติ ที่กล่าวมาในคัมภีร์ข้างต้น เป็นข้อควรปฏิบัติที่จะทำให้ใจของเราไม่ฟุ้งซ่าน เป็นการรักษาวัตร ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน แต่ในกรณีเมื่อเรามานั่งสมาธิ เกิดอารมณ์ และความคิดมากมายที่วิ่งพล่านเข้ามา ก็มีหลักในการแก้ไข ดังต่อไปนี้ 1. ดูไปเรื่อยๆ พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ได้ให้กำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติ ที่เมื่อเกิดอาการฟุ้งท่านกล่าวว่า “การที่มีความคิดเหลือเฟือ ไม่ใช่ว่าฝึกจิตไม่ได้ เพราะความคิดเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งของจิต” เมื่อ เราจับแง่คิดได้อย่างนี้แล้ว ท่านจึงกล่าวต่อไปว่า ดูไปเรื่อยๆ อย่าไปคิดต่อว่าคืออะไร ประกอบด้วยอะไร เกิดอย่างไร อยู่ที่ไหน ให้ดูไปเรื่อยๆ โดยไม่ปฏิเสธภาพที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องคิดอะไรเลย ให้ภาพเปลี่ยนไป เรื่อยๆ นอกจากนี้ท่านยังแนะนำว่า “เราเป็นมนุษย์ธรรมดาต้องยอมรับว่า เราก็ต้องทำแบบมนุษย์ธรรมดา นับตั้งแต่นั่งไป ตั้งแต่มันฟุ้งมาก จนกระทั่งฟังน้อย ฟุ้งน้อยกระทั่งหายฟุ้ง หายฟังแล้วตัวมันก็โล่ง โปร่ง เบา สบาย แต่มันยังมืดอยู่ เราก็นิ่งต่อไปอย่างสบายๆ” มีคำกลอนที่ท่านได้เขียนไว้ว่า “ถ้าความคิดเกิดขึ้นมาให้ไหลผ่าน อย่าต่อต้านก็จะหายถ้าไม่สน เหมือนกระจกคันฉ่องส่องใจตน ให้รู้ว่าดวงกมลเป็นอย่างไร บางช่วงใจของเราไม่ผ่องผุด แต่บางช่วงใจบริสุทธิ์แสนสดใส จงเฝ้าเพียรเรียนรู้ให้เข้าใจ จะมีสิ่งใหม่ใหม่ให้เราดู” 1 พระราชภาวนาวิสุทธิ์, พระธรรมเทศนา, 4 กรกฎาคม 2537. * พระราชภาวนาวิสุทธิ์, พระธรรมเทศนา, 30 พฤษภาคม 2545 บ ท ที่ 5 อุ ท ธ จ จ ก ก ก จ จ ะ แ ล ะ วิ ธี แก้ไข DOU 73
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More