อุทธัจจกุกกุจจะ และการแก้ไขความฟุ้งซ่าน MD 203 สมาธิ 3  หน้า 70
หน้าที่ 70 / 111

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจแนวคิดเกี่ยวกับอุทธัจจกุกกุจจะหรือความฟุ้งซ่านใจตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอน โดยอธิบายลักษณะและสาเหตุของความฟุ้งซ่าน รวมถึงการเสนอวิธีการแก้ไข จัดทำเป็น 5 ประการ ได้แก่ การฟังธรรม การสอบถามผู้รู้ การรักษาศีล การคบหากัลยาณมิตร และการพูดคุยเรื่องสบาย นอกจากนี้ยังเสนอวิธีการแก้ไขที่สามารถทำได้ขณะนั่งสมาธิ เช่น การดูความคิด การนึกถึงดวงแก้ว และการพิจารณาความไม่เที่ยงของชีวิต เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจความหมายของอุทธัจจกุกกุจจะและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งหวังให้ทุกคนมีใจที่สงบระหว่างการปฏิบัติ

หัวข้อประเด็น

-อุทธัจจกุกกุจจะ
-สาเหตุของความฟุ้งซ่าน
-วิธีการแก้ไขความฟุ้งซ่าน
-การปฏิบัติสมาธิ
-กัลยาณมิตร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน และรำคาญใจ พระพุทธเจ้าอุปมาเหมือนคนที่เป็นทาส ความ ฟุ้งที่เกิดขึ้นมีทั้งที่เป็นภาพ เป็นเสียง หรือเป็นทั้งภาพและเสียง ที่มีปริมาณความฟุ้งมากน้อย แตกต่างกัน แต่ไม่ว่าจะรูปแบบใดมื่อเกิดความฟุ้งซ่านย่อมทำให้ใจไม่สงบไม่ได้ผลจากการปฏิบัติ 2. สาเหตุของความฟุ้งซ่าน เกิดจากใจที่ไม่สงบ ทำให้เกิดความวิตกกังวล หวาดกลัว เป็นต้น โดย มีเรื่องที่ทำให้กังวลอยู่ 10 ประการ ที่เป็นเครื่องทำให้ใจไม่สงบ นอกจากนี้ยังเกิดจากไม่ คุ้มครองในทวารอินทรีย์ทั้งหลายไม่รู้ประมาณในอาหารไม่ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ ไม่เห็นแจ้งในกุศลธรรมทั้งหลาย และไม่หมั่นประคองใจไว้กลางกายทั้งกลางวัน และกลางคืน 3. วิธีการแก้ไขความฟุ้ง ในอรรถกถาให้วิธีการไว้ 5 ประการ คือ ความสดับฟังธรรมะให้มาก ความ สอบถามผู้รู้ การหมั่นรักษาศีล คบผู้เจริญ มีกัลยาณมิตร และพูดเรื่องที่สบาย นอกจากนี้ใน ขณะนั่งสมาธิ มีวิธีการแก้ไขหลายประการ เช่น ดูความคิดไปเรื่อยๆ นึกดวงแก้ว องค์พระ และภาวนา ไล่ฐานทั้ง 7 ถ้าฟังมากให้ลืมตา แล้วค่อยหลับตา หรือใช้การพิจารณาความไม่ เที่ยงของชีวิต หรือความตาย วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถบอกถึงความหมายของเรื่องต่อไปนี้ได้ 1. ลักษณะของอุทธัจจกุกกุจจะ 2. สาเหตุที่ทำให้เกิดอุทธัจจกุกกุจจะ 3. วิธีแก้ไขและสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นในระหว่างทำสมาธิ บ ท ที่ 5 อุ ท ธ จ จ ก ก ก จ จ ะ แ ล ะ วิธี แก้ไข DOU 61
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More