ความสำคัญของการหลีกเลี่ยงกามในทางธรรม MD 203 สมาธิ 3  หน้า 28
หน้าที่ 28 / 111

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจถึงความสำคัญของการหลีกเลี่ยงกามในทางพระพุทธศาสนา โดยยกตัวอย่างจากคำสอนของพระพุทธองค์ในมหาสัจจกสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เพื่ออธิบายว่าผู้ใดที่ยังข้องอยู่ในกาม ไม่ว่าจะทำความเพียรหนักเพียงใด ก็ไม่สามารถตรัสรู้ได้ เปรียบเทียบกับไม้สดที่ชุ่มน้ำและยาง ซึ่งไม่สามารถเกิดไฟขึ้นได้แม้จะถูกสีก็ตาม การสละกามอย่างแท้จริงจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการบรรลุธรรม ที่จะทำให้เกิดความสงบทั้งกายและใจ

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของการหลีกเลี่ยงกาม
-การตรัสรู้ในทางธรรม
-คำสอนของพระพุทธองค์
-การทำความเพียรในทางธรรม
-อุปมาไม้สดกับไม้แห้ง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ความกำหนัดในทางเพศ ไปจนถึงความใคร่ ความปรารถนาอยากได้ ในเรื่องอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่อง นุ่งห่ม ของเล่น ชื่อเสียง เป็นต้น กามฉันทะนี้ สำหรับนักปฏิบัติธรรมถือว่าเป็นสิ่งที่ทำให้การปฏิบัติไม่ได้ผล ในข้อนี้มีเหตุการณ์ที่ พระพุทธองค์ได้ทรงยกตัวอย่าง ที่พระองค์ทรงพิจารณาในขณะที่บำเพ็ญเพียร ก่อนตรัสรู้และชี้ให้เห็นไว้ใน มหาสัจจกสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ว่า “สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ซึ่งมีกายยังไม่ได้หลีกออกจากกาม และมีความข้องอยู่ในกาม ยังไม่ละให้สงบได้ด้วยดี สมณพราหมณ์เหล่านั้น แม้ได้เสวยทุกขเวทนาอันเผ็ดร้อน อันเกิดจากความเพียร ก็ดี ไม่ได้เสวยก็ดี ก็ไม่อาจจะตรัสรู้ได้ เหมือนไม้สดที่ชุ่มด้วยยาง บุคคลแช่ไว้ในน้ำ บุรุษต้องการด้วยไฟ มาถือเอาไม้นั้นมาสีกันเข้า ด้วยหวังว่าจะให้ไฟเกิดขึ้น บุรุษนั้นก็ไม่อาจทำให้ไฟเกิดขึ้นได้ ต้องเหนื่อยยาก ลำบากเปล่า เพราะไม้นั้นยังชุ่มด้วยยาง ยังแช่อยู่ในน้ำ” อุปมาข้อนี้ หมายความว่า ใครก็ตามที่กายยังไม่ได้หลีกออกจากกาม ใจก็ยังข้องและใคร่อยู่ในกาม บุคคลนั้นจะทำความเพียรหนักสักเพียงไร หรือไม่ได้ทำความเพียรเลย บุคคลนั้นก็ไม่อาจจะตรัสรู้ธรรมได้ เปรียบเหมือนไม้สดซึ่งชุ่มด้วยยาง และแช่ไว้ในน้ำด้วย ใครก็ตามต้องการจะได้ไฟ เอาไม้นั้นมาสีกันเข้า สีเท่าไรก็ไม่อาจจะเกิดไฟขึ้นได้ เพราะไม้นั้นชุ่มด้วยยางและยังแช่อยู่ในน้ำ “สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กายหลีกออกจากกามแล้ว แต่ใจยังรักใคร่อยู่ในกาม ชอบใจ อยู่ในกาม สมณพราหมณ์เหล่านั้นจะทำความเพียรให้เผ็ดร้อนขนาดไหนก็ตาม หรือไม่ได้ทำก็ตาม ก็ไม่อาจ จะตรัสรู้ธรรมได้ เปรียบเหมือนไม้ที่ชุ่มด้วยยาง ที่บุคคลวางไว้บนบก แม้ใครจะเอาไปสีกันเพื่อให้เกิดไฟ ก็ ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะไม้นั้นยังสดและชุ่มด้วยยาง แม้จะอยู่ห่างน้ำแล้วก็ตาม” อุปมาข้อนี้ หมายความว่า บางคนแม้ออกบวชแล้ว กายหลีกออกจากกามแล้ว แต่ใจยังคิดถึงใน เรื่องกามอยู่ ยังติดอยู่ในกามคุณทั้ง 5 คือ รูป รส เสียง กลิ่น รส สัมผัส แม้จะทำความเพียรหรือไม่ ทำความเพียร บุคคลนั้นก็ไม่อาจตรัสรู้ได้ เพราะใจยังซุ่มอยู่ด้วยยางคือกิเลส เหมือนกับไม้ที่ชุ่มด้วยยาง แม้ จะวางไว้บนบกแล้วก็จริง แต่มันยังสด ยังชุ่มไปด้วยยาง ก็ไม่อาจจะสีให้เกิดไฟขึ้นได้ “สมณพราหมณ์เหล่าใดที่กายหลีกออกจากกามแล้ว ใจก็สละกามได้ สงบระงับดีแล้ว สมณพราหมณ์ เหล่านั้นจะทำความเพียรอันเผ็ดร้อน หรือไม่ทำความเพียรก็ตาม เขาสามารถจะตรัสรู้ธรรมได้ เปรียบ เหมือนไม้แห้งที่วางไว้บนบก บุรุษต้องการไฟ เอาไม้นั้นมาสีกันเข้า ไฟย่อมเกิดขึ้นได้ เพราะไม้นั้นเป็นไม้แห้ง และวางไว้บนบก" 1 มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์, มก. เล่มที่ 19 ข้อ 414-416 หน้า 117-119. บ ท ที่ 2 ก า ม ฉั น ท ะ แ ล ะ วิ ธี แก้ไข DOU 19
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More