ข้อความต้นฉบับในหน้า
2.2 สาเหตุของการเกิดกามฉันทะ
กามฉันทะ เป็นเรื่องของกามคุณ 5 ซึ่งสาเหตุของการเกิดกามฉันทะมีด้วยกันหลายประการ ใน
พระไตรปิฎกได้กล่าวถึงสาเหตุของการเกิดกามฉันทะ ว่าเกิดจากเหตุ 2 ประการ คือ
1. สุภนิมิต
2. อโยนิโสมนสิการ
2.2.1 สุภนิมิต
คำว่า สุภนิมิต ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ สุภะ แปลว่า สวยงาม นิมิต แปลว่า การกำหนด ฉะนั้น
สุภนิมิต จึงแปลว่า “การกำหนดว่าสวยงาม” ในที่นี้หมายถึงการกำหนดในรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส
ทางกายของเพศที่ตรงกันข้ามหรือในเพศเดียวกัน ว่าดี ว่าสวยงาม เช่น การกำหนดว่างามในรูปร่างกาย
เป็นต้น
การกำหนดว่างามในรูปร่างกายนั้น ท่านแยกเป็น 2 ส่วน คือ
1. การกำหนดว่าสวยงามในอวัยวะแต่ละส่วน
2. การกำหนดว่าสวยงามโดยส่วนรวม
การกำหนดว่างามของอวัยวะแต่ละส่วนหรือส่วนย่อยนั้น เช่น เห็นว่า ผิวงาม หน้างาม ปากงาม
ฟันงาม เท้างามนิ้วมืองาม เล็บงาม เป็นต้น เมื่อกำหนดว่างามอยู่อย่างนี้ก็เป็นเหตุเกิดความรักในทางความใคร่
หรือกามฉันทะขึ้น
ส่วนการกำหนดว่าสวยงามโดยส่วนรวมนั้น เช่น เห็นว่าร่างทั้งร่างนั้นงาม ทรวดทรงงาม คือ
ถือว่าร่างกายทั้งหมดนั้นงาม แม้กำหนดว่างามอย่างนี้อยู่ ก็เป็นเหตุให้เกิดกามฉันทะ เพราะฉะนั้น สุภนิมิต
คือความกำหนดหมายว่างามในร่างกายนี้เองที่เป็นเหตุให้เกิดกามฉันทะ ความพอใจในกาม
2.2.2 อโยนิโสมนสิการ
คือ ความคิดโดยไม่แยบคาย ไม่ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองให้เห็นถึงคุณและโทษ เมื่อรู้หรือได้ยิน
หรือเห็น เรื่องอะไรสักอย่าง ก็เกิดความคิดไปตามกระแสกิเลส ทำให้หลงติดมัวเมา ความคิดไม่แยบคาย
ในอรรถกถา พระไตรปิฎก ได้กล่าวไว้ว่า หมายถึง การใส่ใจในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ใส่ใจในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่า
สุข ใส่ใจในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนว่าตัวตน ใส่ใจในสิ่งที่ไม่งามว่างาม
'อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต, มก. เล่ม 32 ข้อ 12 หน้า 46.
- ทีฆนิกาย มหาวรรค, มก. เล่ม 14 หน้า 317.
บ ท ที่ 2 ก า ม ฉั น ท ะ แ ล ะ วิ ธี แก้ไข
DOU 21