การพิจารณาถึงโทษของกามและการแก้ไข MD 203 สมาธิ 3  หน้า 35
หน้าที่ 35 / 111

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้เสนอวิธีการพิจารณาโทษของกามเพื่อคลายกามฉันทะ โดยเน้นถึงความสุขที่มีน้อยและความทุกข์ที่มากของกาม เทคนิคที่เสนอคือการมองเห็นความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการแสวงหาความสุขทางกาม เช่น ทุกข์จากการทำงานเพื่อเลี้ยงชีพ รวมถึงความขยันที่ไม่ประสบผลสำเร็จและการทะเลาะวิวาทที่เกิดจากกาม ในพระไตรปิฎกมีการอธิบายถึงโทษที่เกิดจากกามไว้หลายประการ ซึ่งมีทั้งความทุกข์ที่ตามหลังความสุขและผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในสังคม นอกจากนี้ยังมีการเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนถึงโทษของกามด้วยอุปมาที่ชัดเจนเพื่อย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการพิจารณานี้

หัวข้อประเด็น

-วิธีการแก้ไขจากกามฉันทะ
-โทษของกามในพระไตรปิฎก
-ความสุขและความทุกข์จากกาม
-การทะเลาะวิวาทในสังคม
-การพิจารณาความจริงเกี่ยวกับกาม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

2.3.2 ตามหลักปฏิบัติ นอกเหนือจากวิธีการแก้ไขตามคัมภีร์แล้ว เรายังสามารถใช้วิธีการต่อไปนี้ช่วย เพื่อให้คลาย กามฉันทะลงไปได้ คือ 1. ใช้การพิจารณาถึงความจริงที่ว่ากามคุณทั้งหลายนั้นมีสุขน้อยมีทุกข์มาก คือ ให้ความสุข ในช่วงที่ได้มาใหม่ๆ ซึ่งเป็นเสมือนเหยื่อล่อให้ติด ครั้นเมื่อติดในสิ่งนั้นๆ แล้ว ความทุกข์ทั้งหลายก็จะตามมา ถ้ายิ่งถูกใจมากเท่าใด ก็จะยิ่งนำความทุกข์มาให้มากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นทุกข์จากการแสวงหา เพื่อให้ ได้มากยิ่งขึ้น ทุกข์จากการพยายามรักษาสิ่งนั้นเอาไว้ ทุกข์จากความหวงแหน ความกลัวว่าจะต้องสูญเสีย สิ่งนั้นไป และเมื่อต้องสูญเสียสิ่งนั้นไป ก็จะยิ่งเป็นทุกข์ยิ่งขึ้นไปอีก เพราะเราทั้งหลายล้วนจะต้องพลัด พรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น แม้ว่ากามจะก่อให้เกิดความสุข ความพอใจ ต่อเมื่อเราได้รับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่เรา ปรารถนาและพอใจ แต่เมื่อว่าโดยโทษของกามนั้นมีมากมายหลายประการ ในพระไตรปิฎกก็ได้กล่าวถึง โทษของกามไว้ใน มหาทุกขักขันธสูตร ว่า 1. เมื่อบุคคลทำงานเลี้ยงชีพด้วยความขยัน ด้วยศิลปะต่างๆ ผู้ทำงานต้องได้รับทุกข์นานาชนิด เช่น ทุกข์จากการตรากตรำทำงาน ทุกข์จากความหนาว ความร้อน ลม แดด จากถูกสัตว์ เช่น เหลือบ ยุง ขบกัด จากความหิว กระหาย 2. เมื่อผู้นั้นขยัน พากเพียรทำงาน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ก็เป็นทุกข์ ผู้ทำงานจนได้รับผลก็ เป็นทุกข์ในการรักษาผลงานนั้นมิให้ถูกภัยต่างๆ เช่น โจรภัย ราชภัย อุทกภัย ภัยจากลูกหลานที่คอยล้าง ผลาญ เขาย่อมประสบความทุกข์ เศร้าโศก คร่ำครวญ เห็นว่า สิ่งใดที่เคยเป็นของเรา สิ่งนั้นก็ไม่ได้เป็นของเรา 3. กามทั้งหลายเป็นเหตุให้เกิดโทษต่างๆ เช่น เป็นเหตุให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันในวงการต่างๆ เช่น พระราชาทะเลาะกับพระราชา ผู้นำประเทศทะเลาะกับผู้นำประเทศ เศรษฐีทะเลาะกับเศรษฐี ตลอด จนการทะเลาะวิวาทในครอบครัว พ่อแม่ พี่น้อง ทะเลาะกันและกัน การทะเลาะวิวาทเป็นเหตุให้ต้อง ประหัตประหารกัน ฆ่าฟันกันด้วยศัตราวุธต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดการบาดเจ็บจนถึงเสียชีวิต และยังเป็นเหตุให้ มีการทำทุจริตหลายประการทั้งกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต นี้ก็เป็นเพราะโทษแห่งกาม นอกจากนี้ในพระไตรปิฎกยังชี้ให้เห็นโทษของกามโดยยกอุปมาขึ้นแสดงให้เห็นโทษอีกว่า มีสุข เพียงเล็กน้อย แต่มีโทษมาก คือ 1. เปรียบเหมือนสุนัขที่มีความเพลียเพราะความหิว เข้าไปยืนอยู่ใกล้เขียงของคนฆ่าโคหรือ - มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่ม 18 ข้อ 194 หน้า 113. * โปตลิยสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์, มก. เล่ม 20 ข้อ 47-52 หน้า 81-84 . 26 DOU ส ม า ธิ 3 อุ ป ส ร ร ค แ ล ะ วิธี แก้ไข ใ น ก า ร ทำสมาธิ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More