การจัดการกับนิวรณ์ในชีวิต MD 203 สมาธิ 3  หน้า 16
หน้าที่ 16 / 111

สรุปเนื้อหา

ในชีวิตประจำวัน คนเรามักประสบกับความเบื่อหน่ายและความหดหู่ ซึ่งอาจเกิดจากนิวรณ์ที่ทำให้จิตใจมีความไม่สงบ อาทิเช่น อุทธัจจกุกกุจจะและวิจิกิจฉา สาเหตุเหล่านี้ส่งผลต่อการทำงานและการปฏิบัติธรรม ทำให้ขาดกำลังใจในการทำความดี หากไม่รู้จักและจัดการกับกิเลสเหล่านี้ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตและชีวิต สังคมในเมืองใหญ่ๆ มักเผชิญกับปัญหาเหล่านี้ ซึ่งทำให้เกิดโรคประสาทเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องมีการจัดการและสร้างความเข้าใจเพื่อให้คนในสังคมมีความสุขมากขึ้น ต้องใช้สมาธิในการทำลายกิเลสนี้เพื่อให้บรรลุถึงความสงบในจิตใจได้อย่างแท้จริง.

หัวข้อประเด็น

-อาการเบื่อหน่ายในชีวิต
-ผลกระทบของนิวรณ์ต่อจิตใจ
-การจัดการกับความฟุ้งซ่าน
-ความสำคัญของสมาธิในการพัฒนาจิต
-ปัญหาทางจิตในสังคมเมืองใหญ่

ข้อความต้นฉบับในหน้า

และความหวังในชีวิตเกิดความเบื่อหน่ายชีวิต ไม่คิดอยากทำสิ่งใดๆ บุคคลที่ใจหดหู่ ย่อมขาดความวิริยะ อุตสาหะในการทำสิ่งต่างๆ ได้แต่ปล่อยให้ความคิดเลื่อนลอยไปเรื่อยๆ จึงไม่สามารถรวมใจเป็นหนึ่งได้ เปรียบเหมือนเชื้อราที่จับต้นไม้หรือพืชผักให้เหี่ยวเฉาตาย เพราะเมื่อกิเลสสองตัวนี้จับจิตของคนเราแล้ว จะทำให้จิตใจของเราท้อแท้หมดกำลังใจที่จะบำเพ็ญเพียรในการทำความดีให้แก่ตนและสังคม เราจะทราบว่า บางท่านหรือแม้แต่เราเองในบางวันเกิดท้อแท้ในการปฏิบัติธรรมหรือปฏิบัติงาน ในชีวิตประจำวัน มักจะเกิดง่วงซึม ทั้งๆที่นอนหรือพักผ่อนมาเพียงพอแล้ว เกิดเกียจคร้านหรือบางทีก็ หาวนอนไปเลย อาการเช่นนี้ถ้าไม่มีสาเหตุมาจากร่างกายแล้ว ก็เป็นเพราะจิตถูกเชื้อราคือกิเลสสองตัว นั้น ยึดหน่วงเอาไว้ ทำให้ท้อแท้ หดหู ง่วงซึม ไม่อยากพูดกับใคร หมดความสบายใจ ไม่มีความเบิกบาน เพราะถูกถีนมิทธะเกิดขึ้นกับจิตแล้วจับจิตของเราเอาไว้ เป็นนิวรณ์ที่ทำให้จิตท้อแท้ง่วงซึมและเกียจคร้าน จึงควรกำจัดเสีย ถ้าไม่กำจัดออกไป จะทำสมาธิให้ดีไม่ได้เลย 4. อุทธัจจกุกกุจจะ เป็นนิวรณ์ข้อที่ 4 อุทธัจจะและกุกกุจจะ เป็นกิเลสฝ่ายอกุศลเช่นกัน มักเกิดขึ้นมาด้วยกัน อุทธัจจะ แปลว่า ความฟุ้งซ่าน ไม่สงบ สาย พล่านไป ยุ่งยากใจ กลุ้มใจ กังวลใจ กุกกุจจะ แปลว่า ความรำคาญ วุ่นวายใจ รำคาญใจ ระแวงใจ เมื่อจิตเกิดความฟุ้งซ่านแล้วคนทั่วไปมักจะรำคาญ เช่น เกิดใจไม่สบาย หงุดหงิดอยู่ตลอดเวลา ถ้าใครมาพูดให้กระทบนิดหน่อยก็รำคาญ หรือบางครั้งแม้ เขาพูดดีก็รำคาญ เพราะใจวุ่นวายเสียแล้ว แต่บางคนเป็นเพียงแต่ฟุ้งซ่านหม่นหมองใจแต่ไม่รำคาญ เพราะ เกิดแต่อุทธัจจะอย่างเดียว กุกกุจจะยังไม่ได้เกิดด้วยในขณะนั้น แต่บางคนเกิดทั้งสองอย่างคือ มีทั้งฟุ้งซ่าน มีทั้งรำคาญ กิเลสทั้งสองอย่างนี้เป็นเหมือนเชื้อไวรัส หรือเชื้อหวัดที่ทำให้เราอ่อนเพลียหรือหมดกำลัง จับจิต ของคนเรามากที่สุดในชีวิตประจำวัน คนเราที่หาความสุขไม่ได้ในวันหนึ่งๆ ส่วนมากมักถูกกิเลสสองชนิดนี้ เป็นตัวการทำให้วุ่นวายใจ และกิเลสทั้งสองตัวนี้เองที่ทำให้คนในเมืองใหญ่ๆ เป็นโรคประสาทกันมาก จนถึง กับรัฐบาลของประเทศนั้นๆ ต้องสร้างโรงพยาบาลโรคประสาทและโรงพยาบาลโรคจิตเพิ่มขึ้น เพราะคน ในเมืองใหญ่ๆ ต้องเผชิญกับปัญหาชีวิตมาก ทั้งปัญหาการครองชีพ สังคม และอื่นๆ กิเลสสองชนิดนี้เป็น กิเลสที่ฆ่าความสุขของมนุษย์มากที่สุด ถ้าเรารู้จักหน้าตาของกิเลสตัวนี้แล้ว ก็พอจะทำลายได้ง่าย แต่ถ้าเราไม่รู้จักมันเสียเลย และไม่ กำจัดมันแล้ว กิเลสเหล่านี้ก็เกิดได้ทุกวัน เกิดจำเจ จึงทำให้คนเราบางคนต้องหม่นหมอง ฟุ้งซ่านรำคาญ หาความสุขใจมิได้ ทั้งๆ ที่คนบางคนพยายามทำความดี เช่น ให้ทาน รักษาศีล เป็นต้น ซึ่งน่าจะสุขใจได้ มาก แต่ก็ไม่อาจทำลายกิเลสกลุ่มนี้ได้ เพราะ ทาน ศีล ไม่มีอำนาจในการทำลายหรือกำจัดนิวรณ์ได้ ต้อง ใช้สมาธิเท่านั้น จึงจะทำลายกิเลสกลุ่มนี้ได้ 5. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย เป็นนิวรณ์ตัวสุดท้าย จัดเป็นอุปสรรคขัดขวางการพัฒนาจิตที่ บ ท ที่ 1 อุ ป ส ร ร ค ใ น ก า ร ป ฏิ บั ติ ธ ร ร ม DOU 7
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More