การหลุดพ้นจากถีนมิทธะนิวรณ์ MD 203 สมาธิ 3  หน้า 58
หน้าที่ 58 / 111

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงอาการถีนมิทธะนิวรณ์หรืออาการง่วงเหงาหาวนอนซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรมตามที่พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร) ได้อธิบายไว้อย่างละเอียด เปรียบเทียบการถูกถีนมิทธะเหมือนการติดคุกที่ทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมไม่สามารถรับรู้รสแห่งธรรมได้จริงๆ เมื่อไม่สามารถหลุดพ้นจากสภาวะดังกล่าว ผู้ปฏิบัติธรรมจึงจะไม่สามารถเข้าถึงการฟังธรรมที่เข้าใจลึกซึ้งและการเข้าถึงนิพพานได้ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเหตุผลและวิธีการที่สามารถบรรเทาอาการง่วงได้

หัวข้อประเด็น

-ถีนมิทธะนิวรณ์
-อุปสรรคในการปฏิบัติธรรม
-การบรรเทาอาการง่วง
-ความสำคัญของการมีสติในการนั่งสมาธิ
-การฟังธรรมเพื่อเข้าถึงความเข้าใจที่ลึกซึ้ง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ในงานนักขัตฤกษ์ ฉันใด ผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจถีนมิทธะนิวรณ์ย่อมหมดโอกาส ที่จะได้รับรู้รสแห่งธรรมบันเทิง คือความสงบสุขอันเกิดจากฌานฉันนั้น พระพรหมโมลี(วิลาศ ญาณวโร)ท่านได้อธิบายขยายความในเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่า ถีนมิทธนิวรณ์ ท่านเปรียบว่าเป็นเสมือน “คุก” โดยอธิบายว่า ธรรมดาคนที่ติดคุก คือนักโทษที่ต้องถูกจำขังอยู่ในตะรางนั้น ย่อมจักต้องถูกพันธนาการให้อยู่ในคุก จะออกมาข้างนอกเพื่อเที่ยวดูมหรสพการละเล่นให้เป็นที่ครึกครื้น รื่นเริงใจมิได้ ทีนี้ภายหลังเขาพ้นโทษออกจากคุก ได้ยินพวกเพื่อนฝูงพี่น้องพูดคุยกันว่า เมื่อวานนี้การเล่น มหรสพช่างสนุกเหลือเกิน คนฟ้อนรำก็สวย เสียงร้องเพลงก็ไพเราะ ถ้าไม่ได้เห็นก็น่าจะเสียดายไปจนวันตาย ฝ่ายกระทาชายผู้เพิ่งออกมาจากคุกได้ยินเขาคุยกันดังนี้ ก็นั่งซึมฟังเฉยอยู่ ไม่สามารถจะออกความเห็น หรือคุยอะไรในเรื่องนี้กับเขาได้ เพราะเหตุใด เพราะตนมัวแต่ติดคุก เมื่อวานนี้ยังไม่พ้นโทษจากการ ติดคุกอยู่ จึงไม่ได้ไปเที่ยวดูการมหรสพอันสนุกสนานที่เขาคุยกันอยู่อย่างนั้น อุปมาข้อนี้ฉันใด ผู้ที่มีใจถูกถีนมิทธะเข้าครอบงำมัวแต่โงกง่วงและมักหลับ เมื่อคนอื่นเขาตั้งใจ สดับธรรมเทศนา มีเนื้อความอันวิจิตรลึกซึ้ง สามารถที่จะยังจิตผู้ฟังให้ถึงความแจ่มแจ้งสลดใจ กลัวภัยใน วัฏสงสาร และเห็นคุณค่าแห่งพระนิพพาน แต่ตนก็มัวหลับเสีย ไม่ได้ยินเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดแห่ง พระธรรมเทศนา อันทรงไว้ซึ่งคุณค่ากัณฑ์นั้น ต่อเมื่อโงกเงกตื่นขึ้นในภายหลัง ได้ยินผู้ที่ฟังธรรมเขาคุยกัน ว่า โอ้....พระธรรมเทศนาแสนประเสริฐนัก ท่านแสดงเหตุแสดงอุปมาน่าฟังจริงๆ ได้ฟังแล้วทำให้หูตาสว่าง ขึ้นอีกเป็นอันมาก นี่หากว่าไม่ได้ฟังแล้ว ก็คงโง่ไปอีกนาน ฝ่ายผู้ที่ถูกพันธนาการ คือถูกถีนมิทธะเข้าครอบงำ และมัวแต่หลับเสีย ได้ฟังเขาคุยอย่างนี้ ก็นั่งซึมฟังเฉยอยู่ ไม่สามารถที่จะออกความเห็นหรือแสดงความรู้ คุยอะไรกับเขาได้ เพราะตนมัวแต่ถูกเครื่องพันธนาการ คือถีนมิทธะมันจองจำทำให้หลับเสีย พระธรรม เทศนาไม่สามารถเข้าไปในหูแห่งตนได้ ต่อเมื่อใด ได้บำเพ็ญภาวนาจนสามารถละถีนมิทธะ ก็เสมือนคน ไร้โทษออกจากคุก อาการง่วงหลับ อาจจะมีอาการเคลิ้ม ตัวโยก หรือสะดุ้ง บางทีนั่งแล้วรู้สึกว่าสบายเหมือนกับ ความรู้สึกหายไป คือไม่ได้ยินเสียง ทำให้คิดว่าไม่ได้หลับ แต่พอรู้สึกตัวก็ได้ยินเสียงตามปกติธรรมตา บางคนรู้สึกนั่งเหมือนไม่มีสติ เคลิ้มๆ กึ่งหลับกึ่งตื่น แล้วก็หายไปเลย เมื่อเกิดอาการง่วงขึ้นสิ่งที่มักเกิดขึ้นตามมากับจิตก็คือ เราเกิดความไม่พอใจในความง่วง อยาก จะให้มันหายไป โดยเราคิดไปว่า “ไม่อยากง่วง ไม่อยากรู้สึกเช่นนี้” ซึ่งกลับทำให้เราเหนื่อยอ่อนยิ่งขึ้น และไม่อยากนั่งต่อ หรือบางคนก็เกิดความรู้สึกว่าอยากจะนอน ไม่อยากออกแรงและปล่อยตัวให้จมอยู่กับ ความสบายของจิตที่ปล่อยลื่นไหลไปอย่างไร้สติ ซึ่งทำให้เราล้มเลิกการนั่งสมาธิ หรือปรารภความเพียร 1 พระพรหมโมลี (วิลาส ญาณวโร), ภาวนาทีปนี (กรุงเทพฯ: วัดยานนาวา วัดดอน วัดพระธรรมกาย, 2544), หน้า 50. บ ท ที่ 4 ถ น ม ท ธ ะ แ ล ะ วิ ธี แก้ไข DOU 49
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More