การตั้งชื่อภิกษุและมุนีในพระพุทธศาสนา คาถาธรรมบท ภาค ๕-๘.๑ หน้า 108
หน้าที่ 108 / 204

สรุปเนื้อหา

บุคคลที่ถือว่าตนเป็นภิกษุหรือมุนีในพระพุทธศาสนานั้น ต้องมีการประพฤติธรรมและการพิจารณาเกี่ยวกับบุญและบาป โดยเฉพาะการเว้นบาปและการถือธรรมอันประเสริฐ ซึ่งจะทำให้เขาเรียกว่าเป็นผู้มีปัญญาในทางธรรม นอกจากนั้น ผู้ที่เข้าใจอรรถทั้งสองในโลก ก็จะได้รับการนับถือในฐานะมุนีด้วย

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของภิกษุ
-ความหมายของมุนี
-การถือธรรมในพระพุทธศาสนา
-การเว้นบาปและการประพฤติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๙๐ บุคคลชื่อว่าเป็นภิกษุ เพราะเหตุที่ขอกะคนพวกอื่น หามิได้ บุคคลสมาทานธรรมอันเป็นพิษไม่ชื่อว่า เป็นภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านั้น ผู้ใดในศาสนานี้ ลอยบุญและบาปแล้ว ประพฤติพรมจรรย์ (รู้ธรรม) ในโลก ด้วยการพิจารณาเที่ยวไป ผู้นั้นแล เรา เรียกว่า ภิกษุ. เรื่องเดียรถีย์ น โมเนน มุนิ โหติ โย จ ตุล์ว ปคฺคยฺห ปาปานิ ปริวชฺเชติ โย มุนาติ อุโภ โลเก มุฬหรูโป อวิทฺทสุ วรมาทาย ปณฺฑิโต ส มุนิ เตน โส มุนิ มุนิ เตน ปวุจฺจตีติ บุคคลเขลา ไม่รู้โดยปกติ ไม่ชื่อว่าเป็นมุนี เพราะ ความเป็นผู้นิ่ง ส่วนผู้ใด เป็นบัณฑิต ถือธรรมอัน ประเสริฐ ดุจบุคคลประคองตราชั่ง เว้นบาปทั้งหลาย ผู้นั้นเป็นมุนี ผู้นั้นเป็นมุนี เพราะเหตุนั้น ผู้ใดรู้ อรรถทั้ง ๒ ในโลก ผู้นั้น เรากล่าวว่า เป็นมุนี เพราะเหตุนั้น.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More