การควบคุมตัณหาเพื่อความสุขที่แท้จริง คาถาธรรมบท ภาค ๕-๘.๑ หน้า 153
หน้าที่ 153 / 204

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการตัดรากของตัณหาที่ทำให้เกิดทุกข์ในชีวิต โดยยกเปรียบเปรยกับต้นไม้ที่มั่นคงถึงแม้จะถูกตัด สามารถงอกใหม่ได้หากได้กำจัดรากตัณหาที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน การตัดรากตัณหาเป็นการใช้ปัญญาในการเข้าถึงความสุขและความสงบในชีวิต นอกจากนี้ยังมีการเปรียบเทียบตัณหากับเถาวัลย์ที่พัวพันอยู่กับอารมณ์ของคน การเข้าถึงความสุขนั้นต้องการความพยายามในการเปรียบเทียบการดำรงอยู่กับธรรมชาติที่แท้จริง

หัวข้อประเด็น

-ตัณหาและทุกข์
-การใช้ปัญญาตัดรากตัณหา
-การเปรียบเทียบความสุขกับธรรมชาติ
-ความเสี่ยงในการแสวงหาความสุขที่ผิดทาง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๑๓๕ ต้นไม้ เมื่อรากไม่มีอันตราย ยังมั่นคง ถึงบุคคล ตัดแล้ว ย่อมงอกขึ้นได้อีกทีเดียว แม้ฉันใด ทุกข์นี้ เมื่อตัณหานุสัย อันบุคคลยังขจัดไม่ได้แล้ว ย่อม เกิดขึ้นร่ำไป แม้ฉันนั้น กระแส (แห่งตัณหา) ๓๖ อันไหลไปในอารมณ์ เป็นที่พอใจ เป็นธรรมชาติกล้า ย่อมมีแก่บุคคลใด ความดำริทั้งหลายอันใหญ่ อาศัยราคะย่อมนำ บุคคลนั้นผู้มีทิฏฐิชั่วไป กระแส (แห่งตัณหาทั้งหลาย) ย่อมไหลไปใน อารมณ์ทั้งปวง ตัณหาดุจเถาวัลย์แตกขึ้นแล้ว ย่อมตั้งอยู่ ก็ท่านทั้งหลายเห็นตัณหานั้น เป็นดัง เถาวัลย์เกิดแล้ว จงตัดรากเสียด้วยปัญญาเถิด. โสมนัสทั้งหลายที่ซ่านไปและเปื้อนตัณหา ดุจ ยางเหนียว ย่อมมีแก่สัตว์ สัตว์ทั้งหลายนั้น อาศัย ความสำราญ จึงเป็นผู้แสวงหาความสุข นระ เหล่านั้นแล ย่อมเป็นผู้เข้าถึงซึ่งชาติชรา หมู่สัตว์อันตัณหาผู้ทำความดิ้นรน ล้อมไว้แล้ว ย่อมกระเสือกกระสน เหมือนกระต่ายอันนาย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More