ข้อความต้นฉบับในหน้า
ต า ม ร อ ย พ ร ะ ม ง ค ล เ ท พ ม นี 15
สมัยนั้นไม่มีหนังสือเป็นเล่ม มีแต่หนังสือที่จารลงในใบลาน ไม่มีหลักสูตรการ
สอน ใครอยากจะเรียนเล่มไหนผูกไหน ก็เอาไปขอให้พระอาจารย์สอนให้ จะเรียนตาม
เพื่อนก็ต้องมีผูกตามเพื่อน หลวงพ่อเลยต้องแบกหิ้วผูกใบลานเหล่านี้จน “ไหล่ลู่”
เดินต่อไปยังท่าน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา มองไปยังฝั่งตรงข้ามก็เห็นพระปรางค์วัด
อรุณราชวราราม ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำต้องข้ามฟากไปเรียนหนังสือ
ที่ท่าน้ำแห่งนี้ เราระลึกถึงความวิริยะ อุตสาหะ บากบั่น ความตั้งใจและมุ่งมั่น
ในการศึกษาเล่าเรียนนี้เป็นที่เลื่อมใสของชาวบ้านในแถบนี้ จนมีแม่ค้าชื่อนวม บ้านอยู่
ท่าเตียน ปวารณาถวายอาหารปิ่นโตแด่หลวงพ่อเป็นประจำ
เมื่อแม่ค้านวมทุพพลภาพ เพราะชราลง หลวงพ่อก็ยังรับแม่ค้านวมนี้มาดูแล
ตอบแทนคุณที่เคยถวายอาหาร ดูแลท่านเมื่อครั้งท่านอยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ จนกระทั่ง
แม่ค้านวมสิ้นชีวิตลง
เราโดยสารเรือด่วนเจ้าพระยา จากท่าน้ำหน้าวัดพระเชตุพนฯ ขึ้นมาตามเส้นทาง
ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำเคยใช้ล่องเรือไปยังท่าน้ำเมืองนนท์ แล้วต่อเรือหางยาวเข้าไปตาม
คลอง ใช้เวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง จากท่าน้ำที่วัดพระเชตุพนฯ เราก็มาถึงวัดโบสถ์บน
ตามคลองที่แยกไปจากแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนที่จะถึงวัดโบสถ์บนนั้น ชีวิตสอง
ฟากฝั่งคลอง ยังเป็นบ้านที่มีวิถีชีวิตอยู่กับน้ำในคลองนี้เป็นหลัก ยังคงซักผ้าที่ท่าน้ำ
หน้าบ้านตัวเอง บ้านแทบทุกหลังจะมีท่าน้ำไว้คอยยืนโบกมือ เรียกเรือหางยาวเข้าไป
จอดรับ
เราผ่านไปเห็นเรือลำใหญ่จอดอยู่หลายลำ ที่เขาไว้ใช้บรรทุกสินค้า ดูแล้วทำให้
นึกถึงเรือที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ ใช้เป็นเรือบรรทุกข้าวสารไปขายที่กรุงเทพฯ สมัยเมื่อ
ท่านยังเป็นฆราวาส
ภายในอุโบสถวัดโบสถ์บนนี้ ในวันเพ็ญเดือน ๑๐ พ.ศ. ๒๔๖๐ กลางพรรษาที่ ๑๒
ของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านก็ได้สละชีวิตปฏิบัติธรรม จนได้บรรลุธรรมขององค์สมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านเข้าถึงพระธรรมกาย ณ โบสถ์หลังเก่าของวัดแห่งนี้เอง
ขณะนี้ภายในวัดโบสถ์บน กำลังมีการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ เราได้แต่อธิษฐานว่า
ขออย่าให้ท่านผู้ดูแลวัดนี้ ทำลายโบสถ์หลังเก่าเลย อยากให้ท่านเก็บไว้เป็นอนุสรณ์