การเผชิญหน้ากับมารในพระไตรปิฎก ตามรอยพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ) หน้า 152
หน้าที่ 152 / 188

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงการเผชิญหน้ากับมารในพระไตรปิฎก โดยเฉพาะเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวถึงมารที่มีบทบาทในการขัดขวางการสอนธรรมแก่ผู้ที่ต้องการรู้แจ้ง ความสำคัญของการที่ไม่ควรยอมแพ้ต่อคำเชิญชวนของมาร ส่งเสริมให้จำไว้ว่าความอ่อนแอนั้นเกิดจากการไม่ล่วงล้ำในธรรมที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นถึงลักษณะของมารที่อาจไม่มีรูปร่างที่ชัดเจน แต่มีอิทธิพลต่อจิตใจของผู้คน

หัวข้อประเด็น

-การเผชิญหน้ากับมาร
-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-คำสอนในพระไตรปิฎก
-ธรรมะและการปฏิบัติ
-อิทธิพลของมารต่อสรรพสัตว์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

134 ต า ม ร อ ย พ ร ะ ม ง ค ล เ ท พ ม นี ขาดลมปราณ(ตาย) ก็ไปเกิดในหีนกาย (มีกายอย่างเลว) หมู่สัตว์ชั้นเลว ส่วนสมณะพราหมณ์ พวกก่อนท่านผู้ปฏิญญาว่าเป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า สมณะและพราหมณ์พวกนั้น ไม่แนะนำไม่แสดงธรรม ไม่ทำความยินดีกะพวกสาวกบรรพชิต ครั้นกายแตกขาดลมปราณ ก็ไป เกิดในปณีตกาย (มีกายที่ประณีต) หมู่สัตว์ชั้นดี ภิกษุ ! เพราะฉะนั้นเรา จึงบอกกะท่านอย่างนี้ ท่านผู้นิรทุกข์ เชิญท่านเป็นผู้มักน้อย ตามประกอบความอยู่สบาย ในชาตินี้อยู่เถิด เพราะการไม่บอกเป็นความดี ท่านอย่าสั่งสอนสัตว์ อื่นๆ เลย” ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมารกล่าวอย่างนี้แล้ว เราจึงกล่าวว่า “มารผู้ลามก เรารู้จักท่าน ท่านอย่าเข้าใจว่าพระสมณะไม่รู้จักเรา ท่านเป็นมาร ท่านหามีความอนุเคราะห์ด้วยจิตเกื้อกูลไม่ จึงกล่าวกะเรา อย่างนี้ ท่านมีความดำริว่าพระสมณโคดมจักแสดงธรรมแก่ชนเหล่าใด ชนเหล่านั้นจักล่วงวิสัยของเราไป ก็พวกสมณะและพราหมณ์นั้นมิได้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า (แต่)ปฏิญญาว่า เราทั้งหลายเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มารผู้ลามก เราเป็นสัมมาสัมพุทธะ ย่อมปฏิญญาว่าเราเป็นสัมมาสัมพุทธะ มารผู้ลามก ! ตถาคตแม้เมื่อแสดงธรรมแก่พวกสาวกก็เป็นเช่นนั้น แม้เมื่อไม่แสดงธรรมแก่พวกสาวกก็เป็นเช่นนั้น ตถาคตแม้เมื่อแนะนำ พวกสาวกก็เป็นเช่นนั้น แม้เมื่อไม่แนะนำพวกสาวกก็เป็นเช่นนั้น” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงข่มขู่มาร ไม่ปฏิบัติตามคำเชิญชวนของมารแต่อย่าง ใด และยังทรงสั่งสอนธรรมแก่สรรพสัตว์ทั้งหลายต่อไป เรื่องราวในพระไตรปิฎกตอนนี้ชี้ชัดให้เห็นอีกว่า มารเป็นสิ่งหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษ เพราะมิได้กล่าวว่าพรหมรูปนั้นเป็นมาร แต่กล่าวว่ามารเข้าสิงอยู่ในพรหมรูปนั้น แต่ ก็ไม่มีรายละเอียดบ่งบอกว่า มารมีรูปร่างลักษณะอย่างไร เหมือนกับที่ไม่มีบันทึกบอกว่า เทวดา พรหม อรูปพรหมมีรูปร่างอย่างไรเช่นกัน นับว่ารายละเอียดความรู้ในพระไตร ปิฎกที่ขาดหายไป
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More