การค้นหาวิราคธาตุวิราคธรรม ตามรอยพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ) หน้า 168
หน้าที่ 168 / 188

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้พูดถึงการค้นหาวิราคธาตุวิราคธรรมที่ยังไม่ถึงที่สุด โดยผู้เทศน์ได้อธิบายถึงการพยายามศึกษามาตลอด 22 ปี ที่สำคัญคือ หากไปถึงที่สุด การรักษาจะทำให้มนุษย์เลิกแก่ เจ็บ และตาย และทุกคนจะมีชีวิตอย่างมีความสุข ร่มเย็น เป็นสุข เหมือนกับพระหรือเทวดา นอกจากนี้ ยังพูดถึงแนวคิดที่ว่าผู้เทศน์ยังไม่สามารถเข้าถึงที่สุดและการพัฒนาความเข้าใจในธรรมที่สูงขึ้นนั้นมีความสำคัญอย่างไร เช่นเดียวกับพระนิพพาน ซึ่งเป็นจุดหมายที่ต้องการสำหรับการบรรลุธรรมอย่างแท้จริง.

หัวข้อประเด็น

-การศึกษาและการค้นคว้า
-การบรรลุธรรม
-วิราคธาตุ
-วิราคธรรม
-พระนิพพาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

150 ต า ม ร อ ย พ ร ะ ม ง ค ล เ ท พ ม นี ยังไปไม่ถึงที่สุด (๑) “ผู้เทศน์เองก็ได้ค้นคว้าหาเหตุผลเหล่านี้หนักหนา แต่ว่ายังไปไม่ ถึงที่สุด ไปยังไม่สุดในวิราคธาตุวิราคธรรม ถ้าไปสุดเวลาไรละก็ วิชา วัดปากน้ำ วิชาของผู้เทศน์นี้สำเร็จเวลานั้น ภิกษุ สามเณรจะต้องเหาะ เหินเดินอากาศได้ทันทีทีเดียว ไม่ต้องไปสงสัยละ ถ้าไปสุดวิราคธาตุ วิราคธรรมละ เวลานี้กำลังไปอยู่ทั้งวันทั้งคืน วินาทีเดียวไม่ได้หยุดเลย ตั้งใจจะ ไปให้สุดวิราคธาติวิราคธรรมนี้แหละ ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งบัดนี้ นับปีได้ ๒๒ ปี กับ 5 เดือน เศษแล้ว ๒๒ ปี ๖ เดือนเศษแล้วเกือบครึ่งละ จะไปให้สุดวิราคธาตุวิราคธรรมให้ได้ แต่มันยังไม่สุด แต่มันจะอีกกี่ปี ไม่รู้แน่น.... ถ้าว่าสุดแล้วก็รู้ดอก ไม่ต้องสงสัยละ รู้กันหมดทั้งสากลโลก ถ้าสุดเข้าแล้วก็ รบราฆ่าฟันเลิกกันหมด มนุษย์ในสากลโลก ร่มเย็นเป็นสุขหมด ไม่ต้องทำมาหาเลี้ยงชีพ มีผู้เลี้ยงเสร็จ เป็นสุข เหมือนอย่าง กับพระ เหมือนอย่างกับเทวดา สุขวิเศษไพศาลอย่างนั้น จะได้พบแน่ละ วิราคธาตุวิราคธรรมเสียก่อน” ไปยังไม่ถึงที่สุด (๒) เหมือนกับพระนิพพาน แต่ว่าขอให้ไปสุด (จาก ธรรมนิยามสูตร แสดงเมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๗) “ที่สุดอยู่ที่ไหนละ ผู้เทศน์ยังเรียนวิชชาไปไม่ถึง ยังไม่ถึงที่สุด ๒๓ ปี ๔ เดือนเศษแล้ว ยังไม่ถึงที่สุดเลย ขยับไปที่ๆ หนึ่งนั้นนับครั้ง ไม่ถ้วน นับชั้นไม่ถ้วน นับอสงไขยไม่ถ้วน นับอายุกี่ดวง ยังไม่ถ้วน ไม่ไปสุดเลย ถ้าสุดเวลาไรถึงที่สุดของการรักษาแล้วละก็ มนุษย์เลิกแก่ เลิกเจ็บ เลิกตายทีเดียว นี่กำลังพยายามทำไป” (จาก อริยทรัพย์ แสดงเมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๗)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More