ความบริสุทธิ์และดวงปฐมมรรค ตามรอยพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ) หน้า 108
หน้าที่ 108 / 188

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงแนวทางการเข้าถึงดวงปฐมมรรค โดยเน้นที่การรักษาความบริสุทธิ์ของกาย วาจา และใจ ซึ่งมีความสำคัญในการบรรลุสติปัฏฐานทั้ง 3 ได้แก่ กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา และจิตตานุปัสสนา เพื่อให้เกิดสภาพจิตที่สงบและเข้าถึงดวงธรรมที่บริสุทธิ์เหมือนกระจกที่ใส ซึ่งเรียกว่า พระธรรมดวงแก้ว นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการมีสมาธิและการรู้จักหยุดใจในที่เดียวกันด้วย อานาปานะ หรือการควบคุมลมหายใจถือเป็นกุญแจสำคัญในกระบวนการนี้.

หัวข้อประเด็น

-การรักษาความบริสุทธิ์
-ดวงปฐมมรรค
-สติปัฏฐาน
-อานาปานะ
-การปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

90 ต า ม ร อ ย พ ร ะ ม ง ค ล เ ท พ ม นี นึกถึงความบริสุทธิ์นั้นแหละร่ำไป จนใจของตนบริสุทธิ์เหมือนกับความ บริสุทธิ์ แล้วก็จะเห็นความบริสุทธิ์ใสปรากฏอยู่ตรงกลางของกายมนุษย์ เหนือสะดือขึ้นมาราว ๒ นิ้ว ตรงนั้นเรียกว่าศูนย์ เป็นดวงประมาณเท่า ฟองไข่แดง ใสบริสุทธิ์ดุจกระจกที่ส่องดูหน้าในเวลาแต่งหน้า แต่งตัว ประมาณของดวงไม่คงที่ บางทีโตกว่าเล็กกว่าก็ได้ อย่างโตไม่เกินดวง จันทร์และดวงอาทิตย์ อย่างเล็กไม่เกินดวงตาดำข้างใน นี้เป็นเครื่อง กำหนดดวง ดวงนั้นแหละ คือ ปฐมมรรค” ถ้าปรารถนาจะเข้าถึงดวงปฐมมรรค ก็ต้องรักษากาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ และ หมั่นนึกถึงความบริสุทธิ์อยู่เรื่อยๆ ดังคำสอนที่หลวงพ่อกล่าวไว้ “กายสังขารสงบ คือ ลมหายใจหยุด วจีสังขารสงบ คือ ความตรึกตรองหยุด จิตสังขารสงบ คือ ใจหยุด อยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย มนุษย์ ชื่อว่า สันติ ลมหยุดลงไปในที่เดียวกัน ชื่อว่า อานาปานะ ซึ่งแปลว่า ลมหยุดนิ่ง หรือไม่มี เมื่อสังขารทั้ง ๓ สติปัฏฐาน ด้วยส่วนหนึ่ง หยุดถูกส่วนเข้าแล้ว เรียกว่า กายานุปัสสนา เมื่อสังขารสงบมีความสุขเกิดขึ้น เรียกว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตคิดว่าเป็นสุข เรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในเมื่อสติปัฏฐานทั้ง ๓ ส่วนพร้อมกันเข้า เกิดเป็นดวงใสขึ้น เท่า ฟองไข่แดง หรือเท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ใสบริสุทธิ์สนิทเหมือนกระจก ส่องเงาหน้า นั่นแหละ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน....” ดวงนี้บางท่านเรียกว่า “พระธรรมดวงแก้ว” โบราณท่านใช้แปลใน มูลกัจจายน์ ว่า “ปฐมมรรค” เป็นการยืนยันว่า ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือ ดวงปฐมมรรค ที่หลวงพ่อ กล่าวไว้ในการปฏิบัตินั้น มีพระโบราณจารย์ท่านได้กล่าวถึงไว้แล้ว
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More