ข้อความต้นฉบับในหน้า
8
ต า ม ร อ ย พ ร ะ ม ง ค ล เ ท พ ม นี
ถึงในระหว่างคันถธุระอยู่ ก็เรียนวิปัสสนาไปด้วยเหมือนกัน เวลาวันแปดค่ำ
สิบห้าค่ำ ก็มักไปแสวงหาครูสอนฝ่ายสมถวิปัสสนาอยู่เสมอๆ โดยมาก แต่ที่เรียนโดย
ตรงทีเดียวตั้งแต่บวชใหม่ๆ ก็เรียนแต่อนุสาวนาจารย์ที่หนึ่ง
บวชแล้วรุ่งขึ้น วันที่สองก็เรียนที่หลวงพ่อเนียม วัดน้อย จังหวัดสุพรรณบุรี
ที่สามเจ้าคุณสังวรานุวงษ์ (เอี่ยม) วัดราชสิทธาราม ที่สี่เรียนกับพระครูญาณวิรัติ (โป๊)
วัดพระเชตุพน ที่ห้าเรียนกับพระอาจารย์สิงห์ วัดละครทำ หลังวัดโฆสิตาราม ได้ตาม
แบบของท่านสององค์ พระครูญาณวิรัติ แลพระอาจารย์สิงห์ ท่านรับรองว่าได้ตามแบบ
ของท่าน ท่านมอบให้เป็นผู้สอนเขาได้ทั้งสองอาจารย์ แต่ก็ยังไม่พอใจที่จะเป็นครูสอน
เขา จึงค้นคว้าหาต่อไปอีก
ถึงพรรษา ๑๑ ก็สำเร็จในการเล่าเรียนคันถธุระได้พอสมควรแก่ที่ตั้งใจไว้ว่า
ต้องเรียนแปลให้ออก จะได้ค้นธรรมในมคธภาษาได้ตามต้องการ ก่อนแต่จะมาเรียน
คันถธุระนั้นได้ตั้งหนังสือใบลาน มหาสติปัฏฐานลานยาวไว้ที่วัดสองพี่น้องผูกหนึ่งว่า ถ้าไป
เล่าเรียนคราวนี้ต้องแปลหนังสือผูกนี้ให้ออก จึงเป็นที่พอแก่ความต้องการ ถ้ายังแปล
ไม่ออก ก็เป็นอันไม่หยุดในการเรียน แต่พอแปลออกก็หยุด
ในพรรษาที่ ๑๑ เมื่อหยุดต่อการเรียนปริยัติแล้ว ก็เริ่มทำจริงจังในทางปฏิบัติ ก็
คิดว่าในวัดพระเชตุพนนี้ ในอุโบสถก็ดีมีบริเวณกว้างขวางดีมาก เป็นสถานที่ควรทำ
ภาวนามาก แต่มาหวนระลึกถึงอุปการคุณของวัดบางคูเวียง (วัดโบสถ์บน ต.บางคูเวียง)
ในคลองบางกอกน้อย เจ้าอธิการสุ่มได้ถวายมูลกัจจายน์ แลคัมภีร์พระธรรมบท ให้ใน
ตอนเรียนปริยัตินั้น ก็มีอุปการคุณอยู่มากควรไปจำพรรษา แล้วจะได้แสดงธรรมแจกแก่
ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกาเป็นบรรณาการต่ออุปการคุณแก่วัดนั้น
จึงได้กราบลาเจ้าคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน ไป
จำพรรษาวัดบางคูเวียง ในพรรษาที่ ๑๒ แต่พอได้กึ่งพรรษา ก็มาหวนระลึกขึ้นว่า
“ในเมื่อเราตั้งใจจริงๆ ในการบวช จำเดิมอายุสิบเก้า เราได้ปฏิญาณตนบวชจน
ตาย ขออย่าให้ตายในระหว่างก่อนบวช บัดนี้ก็ได้บอกลามาถึง ๑๕ พรรษา ย่างเข้า
พรรษานี้แล้ว ก็พอแก่ความประสงค์ของเราแล้ว บัดนี้ของจริงที่พระพุทธเจ้าท่านรู้ท่าน
เห็น เราก็ยังไม่ได้บรรลุ ยังไม่รู้ไม่เห็น สมควรแล้วที่จะต้องกระทำอย่างจริงจัง”
เมื่อตกลงใจได้ดังนี้แล้ว วันนั้นเป็นวันกลางเดือน ๑๐ ก็เริ่มเข้าโรงอุโบสถแต่เวลา