ข้อความต้นฉบับในหน้า
62
ต า ม ร อ ย พ ร ะ ม ง ค ล เ ท พ ม นี
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในความหมายของคำว่า “หยุด” ที่หลวงพ่อได้กล่าวสอนไว้
ผู้เขียนจึงขอน้อมนำความหมายของคำว่า “หยุด” เพียงบางส่วนจากพระธรรมเทศนา
ของหลวงพ่อ มาให้ท่านผู้อ่านได้ศึกษาพอเป็นแนวทาง
๑. สุขอื่นนอกจากหยุดนิ่งไม่มี
“โลกจะได้รับความสุข ใจต้องหยุดตามส่วนของโลก ธรรมที่จะได้
รับความสุข ใจต้องหยุดตามส่วนของธรรม
ท่านได้แนะนำไว้ตามวาระพระบาลีว่า
นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุข สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่ง ไม่มี หยุดนั่นเองเป็น
ตัวสาคัญ เพราะเหตุนั้นต้องทําใจให้หยุด"
๒. ไปนิพพานต้องหยุด
(จากพระธรรมเทศนาเรื่อง หลักการเจริญภาวนาสมถ วิปัสสนากรรมฐาน)
“ถ้าจะไปสู่มรรคผลนิพพาน ต้องเข้ากลางดวงนั้นแห่งเดียว ไปได้
ทางเดียว ทางอื่นไม่มี
เมื่อเข้ากลางศูนย์ได้แล้ว เรียกว่า ดวงปฐมมรรค นัยหนึ่ง
อีกนัยหนึ่ง ดวงนั้นแหละ เรียกว่า เอกายนมรรค แปลว่า หนทางเอก
ไม่มีโท แปลว่า หนทางหนึ่ง สองไม่มี หนึ่งทีเดียว....
(อีกนัยหนึ่ง) ดวงนั้นแหละเรียกว่า ดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เป็นทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ทั้งหมดในสากลโลก สากล
ธรรม พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ จะเข้าไปสู่นิพพานต้องไปทางนี้ทางเดียว
ไม่มีทางแตกแยกจากกัน ไปแนวเดียวทางเดียวกันหมด แต่ว่าการไปนั้น
บางท่านเร็ว บางท่านช้า ไม่เหมือนกัน
คำว่าไม่เหมือนกันนี้แหละ ถึงจะได้ชื่อว่าไม่ซ้ำกัน คำว่าไม่ซ้ำกัน
เพราะเร็วกว่ากัน ช้ากว่ากัน แล้วแต่นิสัยวาสนาของตนที่สั่งสมอบรมไว้
แต่ว่า ทางไปนั้นเป็นทางเดียวกันหมด เป็นเอกายนมรรค หนทางเส้นเดียว