ข้อความต้นฉบับในหน้า
56 ต า ม ร อ ย พ ร ะ ม ง ค ล เ ท พ ม นี
หลวงพ่อได้เขียนบันทึก เล่าถึงการเริ่มเผยแพร่ธรรมกายครั้งแรกว่า
“เป็นของลึกถึงเพียงนี้ ใครจะไปคิดคาดคะเนเอาได้ พ้นวิสัยของ
ความตรึกนึกคิด ถ้ายังตรึกนึกคิดอยู่ ก็เข้าไม่ถึง ที่จะเข้าถึงต้องทำให้รู้
ตรึก รู้สึก รู้คิดนั้น หยุดเป็นจุดเดียวกัน
แต่พอหยุดก็ดับ แต่พอดับแล้วก็เกิด
ถ้าไม่ดับแล้วไม่เกิด ตรองดูเถิดท่านทั้งหลาย
นี่เป็นของจริง หัวต่อมีเป็นอยู่ตรงนี้ ถ้าไม่ถูกส่วนดังนี้ ไม่มีไม่เป็น
เด็ดขาด
วิตกอยู่ดังนี้สักครู่ใหญ่ๆ ก็กลัวว่าความมีความเป็นนั้นจะเลือนไป
เสีย จึงเข้าที่ติดไปใหม่ ราวสักสามสิบนาที ก็เห็นวัดบางปลาปรากฏ
เหมือนตัวเองไปอยู่ที่วัดนั้น แต่พอชัดดีก็รู้สึกตัวขึ้นมา
จึงมีความรู้สึกขึ้นมาว่า (ที่ว่า) จะมีผู้รู้เห็นได้ยากนั้นในวัดบางปลา
นี้จะต้องมีผู้รู้ผู้เห็นได้แน่นอน จึงมาปรากฏขึ้นบัดนี้
ต่อแต่นั้นมา ก็คำนึงที่จะไปสอนที่วัดนั้นอยู่เรื่อยๆ มา จนถึงออก
พรรษา รับกฐินแล้ว ก็ลาสมภารวัดบางคูเวียง วัดโบสถ์บน ต.บางคูเวียง)
ไปสอนที่วัดบางปลาราว ๔ เดือน มีพระทำเป็น ๓ รูป คฤหัสถ์ ๔ คน
นี่เริ่มต้นแผ่ธรรมกายของจริง ที่แสวงหาได้มาจริง ปรากฏอยู่จน
บัดนี้...”
กิจวัตรในการเผยแพร่ธรรมสมัยหลวงพ่ออยู่วัดปากน้ำเป็นอย่างไร “พระทิพย์
ปริญญา” ได้เขียนเล่าไว้เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๘๙ ในหนังสือ ชื่อ “ธรรมกาย” ดังนี้
จริยาของท่าน
๑. คุมภิกษุ-สามเณร ลงทำวัตร ไหว้พระในโบสถ์ทุกวัน วันละ ๒ เวลา คือ เช้าหน
หนึ่ง เย็นหนหนึ่ง และได้ให้โอวาทสั่งสอนภิกษุสามเณรทั้ง ๒ เวลา
๒. วันพระและวันอาทิตย์ลงแสดงธรรมในโบสถ์เองเป็นนิจ
๓.
ทำกิจกรรมอยู่ในสถานที่ ซึ่งจัดไว้เฉพาะเป็นกิจประจำวัน และควบคุมพระให้