ข้อความต้นฉบับในหน้า
78
ต า ม ร อ ย พ ร ะ ม ง ค ล เ ท พ ม นี
เป็นแปดองค์ในอริยมรรคนั้นทั้งสิ้น”
รายละเอียดของมรรคมีองค์ ๘ ที่หลวงพ่อกล่าวว่าอยู่ในนั้น คืออยู่ในดวงศีล
สมาธิ ปัญญา เป็นอย่างไร คงต้องอาศัยการปฏิบัติให้เข้าถึงธรรมกายแล้วเข้าไปเรียนรู้
ในสิ่งเหล่านี้ต่อไปอีก แต่ในการศึกษาภาคปริยัติก็มีกล่าวถึงมรรคมีองค์ ๘ ว่า ถ้าย่นย่อ
ลงมาแล้วก็เหลือ ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งหลักปริยัติและปฏิบัติตรงกัน
ส่วนการเอาใจ “ถึงเฉพาะซึ่งกลาง” นั้น จะมีวิธีการปฏิบัติอย่างไร หลวงพ่อก็ได้
กล่าวว่าทำด้วยวิธีการทำใจให้ “หยุด” เพียงอย่างเดียว หลวงพ่อได้กล่าวไว้ในพระธรรม
เทศนาเรื่อง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ว่า
“ไปหยุดอยู่ที่ศูนย์กลาง นั่นแหละได้ชื่อว่ามัชฌิมา พอหยุดก็หมดดี
หมดชั่ว ไม่ดีไม่ชั่วกัน หยุดทีเดียว
พอหยุดจัดเป็นบุญก็ไม่ได้
พอหยุดจัดเป็นบาปก็ไม่ได้
จัดเป็นดีก็ไม่ได้ ชั่วก็ไม่ได้ ต้องจัดเป็นกลาง
ตรงนั้นแหละกลางใจ หยุดก็เป็นกลางที่เดียว
นี้ที่พระองค์ให้นัยไว้กับองคุลิมาลว่า
“สมณะหยุด สมณะหยุด”
พระองค์ทรงเหลียวพระพักตร์มา
“สมณะหยุดแล้ว”
ท่านก็หยุด นี้ต้องเอาใจไปหยุดตรงนี้
หยุดตรงนั้นถูก “มัชฌิมา ปฏิปทา” ทีเดียว
พอหยุดแล้ว ก็ตั้งใจอันนั้นที่หยุดนั้น อย่าให้กลับมาไม่หยุดอีกนะ
ให้หยุดไปท่าเดียวนั่นแหละ
พอหยุดแล้วก็ถามว่า หยุดลงไปแล้ว ยังตามอัตตกิลมถานุโยคมี
ไหม ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ตัวรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
ยินดีไหมไม่มี นั่นกามสุขัลลิกานุโยคไม่มี