ข้อความต้นฉบับในหน้า
80 ต า ม ร อ ย พ ร ะ ม ง ค ล เ ท พ ม นี
นั่นหมายความว่า ภูมิของสมถะ คือ การทำใจให้ “หยุด” นั่นเอง
วิธีการปฏิบัติ ตามสมถกรรมฐาน ๔๐ วิธีคือ วิธีการทำใจให้ “หยุด”
และเมื่อใจหยุดได้ แล้วก็ต้องเอาใจ “ถึงเฉพาะซึ่งกลาง” ที่ศูนย์กลาง
กาย
การสอนของ หลวงพ่อที่ให้บริกรรมภาวนาว่า สัมมา อะระหัง
และนึกถึงดวงแก้วเป็น บริกรรมนิมิต ก็เป็นวิธีการแบบเก่าที่มีการ
สอนอยู่แล้วในสมถกรรมฐาน ๔๐ แต่ที่หลวงพ่อแนะนำให้ทำต่อไป คือ
ทำใจ “หยุด” อยู่ที่ศูนย์กลางกาย แล้วเข้ากลางกายไป และการ
“เข้ากลาง” ไปนี้เองที่ทำให้ท่าน พบ “ธรรมกาย” ซึ่งเป็นกายภายใน
หลวงพ่อกล่าวถึงเรื่องการเข้ากลางไว้ในพระธรรมเทศนาเรื่อง
โพธิปักขิยธรรมกถา ว่า
“เข้ากลางไม่ถูก เป็นลูกพระตถาคตไม่ได้ ถ้า
เข้ากลางถูกเป็นลูกพระตถาคตได้ เหตุฉะนั้นวิธีเข้า
กลางจึงสำคัญนัก เมื่อเข้ากลางถูก ก็เป็นลูกพระ
ตถาคตทีเดียว”
“ทางสายกลาง” เริ่มต้นด้วยการทำใจให้หยุดอยู่ที่ศูนย์กลางกาย
และเข้ากลางกายไปนี้เองที่ทำให้หลวงพ่อวัดปากน้ำได้ค้นพบ “ธรรมกาย”
หากไม่ใช่เพราะบุญบารมีที่หลวงพ่อวัดปากน้ำสั่งสมมาอย่างดี
ประกอบกับการทุ่มเทชีวิตในการศึกษาปฏิบัติ ธรรมอย่างจริงจังของ
ท่านในปัจจุบันชาตินี้แล้ว ความรู้เรื่อง การปฏิบัติ “ฝึกใจ” ตาม
“ทางสายกลาง” จะไม่บังเกิดขึ้น อย่างแน่นอน และหากมิใช่เพราะ
ความเมตตาที่หลวงพ่อสั่งสอนเผยแผ่ความรู้ที่ท่านพบมาตลอดชีวิต
ของท่านแล้ว ความรู้เรื่อง “ทางสายกลาง” นี้คงไม่มีตกทอดมาให้ได้
ศึกษากันจนถึงปัจจุบันนี้
พระคุณของหลวงพ่อวัดปากน้ำนั้นจึงยิ่งใหญ่ไพศาล มากกว่า
การจะเอื้อนเอ่ยด้วยวจีใดพรรณนาพระคุณของท่านได้หมดสิ้น