ธรรม 5 ประการในพระพุทธศาสนา ตามรอยพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ) หน้า 112
หน้าที่ 112 / 188

สรุปเนื้อหา

จากพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกายและอังคุตตรนิกาย แสดงถึงความสำคัญของภิกษุผู้มีธรรม 5 ประการ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ ซึ่งเป็นผู้ควรคำนับและทำบุญ ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่านี้ พวกเขายังปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตนและผู้อื่น โดยเฉพาะการชักชวนผู้อื่นให้ประพฤติธรรม

หัวข้อประเด็น

-ธรรม 5 ประการ
-เนื้อนาบุญของโลก
-ประโยชน์ต่อตนและผู้อื่น
-บทบาทของภิกษุ
-พระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

94 ต า ม ร อ ย พ ร ะ ม ง ค ล เ ท พ ม นี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เรากล่าวการเห็น การระลึกถึง การบวชตาม การเข้าไปหา การเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้น ว่ามีอุปการะมาก ดังนี้” จากพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อากังเขยสูตร (พระสูตรและอรรถกถาแปลของมหามกุฏราชวิทยาลัย) ผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลก “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม เป็นผู้ควรคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควร ทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๕ ประการ เป็นไฉน คือพระภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ๑ เป็นผู้ถึง พร้อมด้วยสมาธิ ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย วิมุตติ ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ของควรคำนับ เป็นผู้ของควรต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า” จากพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ผาสุวิหารวรรค ศีลสูตร (พระสูตรและอรรถกถาแปล ของมหามกุฏราชวิทยาลัย) ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ธรรม ๕ ประการนั้นเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการถึง พร้อมด้วยสมาธิ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการถึง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More