การพัฒนาวัดปากน้ำในสมัยพระสังฆราช ตามรอยพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ) หน้า 62
หน้าที่ 62 / 188

สรุปเนื้อหา

เนื้อหามุ่งเน้นการบรรยายเกี่ยวกับการพัฒนาวัดปากน้ำในสมัยที่หลวงพ่อไปอยู่ อธิบายถึงความลำบากในการจัดการวัดและการสร้างความเข้าใจภายในหมู่พระภิกษุ โดยเฉพาะการนำแนวทางพระธรรมวินัยมาใช้ในการปฏิบัติ ชี้ให้เห็นถึงประวัติศาสตร์การใช้งานคลองภาษีเจริญที่เปรียบเสมือนโทลเวย์ทางน้ำในการเดินเรือที่สะดวก การประชุมพระภิกษุและสามเณรในวัด การสร้างบรรยากาศที่เป็นหนึ่งเดียวกัน

หัวข้อประเด็น

-การพัฒนาวัดปากน้ำ
-บทบาทของพระสังฆราช
-คลองภาษีเจริญ
-การรักษาพระธรรมวินัย
-การสร้างความเข้าใจในหมู่พระภิกษุ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

44 ต า ม ร อ ย พ ร ะ ม ง ค ล เ ท พ ม นี เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ ปากกว้างตั้งแต่ ๑ เมตร ลงมา ยาวเมตรละ ๒๕ สตางค์ ปากกว้างเกิน ๑ เมตร ยาวเมตรละ ๓๐ สตางค์ แพ คิดตารางเมตรละ ๒ สตางค์ เรือพาย เรือแจว ปากกว้างไม่ถึงเมตร ยาวไม่เกิน ๓ เมตร เสีย 9 สตางค์ เรียกกันในสมัยนี้ก็ว่า คลองภาษีเจริญ เป็นโทลเวย์ทางน้ำ ที่ทำให้การเดินเรือสะดวก ประหยัดเวลา เหมือนอย่างกับโครงการดอนเมืองโทลเวย์ ในสมัยปัจจุบัน ที่ทำให้การเดิน ทางโดยรถยนต์สะดวก ประหยัดเวลาขึ้น สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณณสิริมหาเถระ) สมัยดำรงสมณศักดิ์ เป็นพระธรรม วโรดม ได้บรรยายสภาพวัดปากน้ำ เมื่อครั้งที่หลวงพ่อเริ่มไปอยู่ว่า “สภาพวัดปากน้ำสมัยนั้นทุกอย่างไม่เรียบร้อย มีสภาพกึ่งวัดร้าง เป็นที่ควรแก้ไขให้เป็นวัดสมสภาพ ขณะนั้นมีพระเก่าอยู่ประมาณ ๑๓ รูป กล่าวกันว่า พระและชาว บ้านที่นั่นมีอัธยาศัยเป็นนักเลง พระเก่าก็ไม่ค่อยตั้งอยู่ในธรรมวินัย ยาก จะปกครอง ดูแลได้...” เมื่อหลวงพ่อเริ่มไปอยู่วัดปากน้ำ งานแรกที่ท่านทำคืออะไร ? สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณณสิริมหาเถระ) สมัยเมื่อบวชใหม่ได้ ๑ พรรษา ก็ได้ ตามหลวงพ่อไปวัดปากน้ำตั้งแต่เริ่มต้น ท่านได้บันทึกเหตุการณ์ในครั้งนั้นว่า “งานเบื้องต้น หลวงพ่อวัดปากน้ำได้ประชุม พระภิกษุ สามเณร ที่ อยู่เดิมและมาใหม่ ท่านให้โอวาทปรับความเข้าใจแก่กันว่า เจ้าคณะอำเภอส่งมาเพื่อให้รักษาวัด ว่ากล่าวผู้อยู่วัดโดยพระธรรมวินัย และปกครองตักเตือน อันจะให้วัดเจริญได้ ต้องอาศัยความพร้อมเพรียงและเห็นอกเห็นใจ กัน จึงจะทำความเจริญได้ ถิ่นนี้ไม่คุ้นกับใครเลย มาอยู่นี้เท่ากับถูกปล่อย โดยไม่รู้ว่าจะหันหน้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More