ข้อความต้นฉบับในหน้า
40
ต า ม ร อ ย พ ร ะ ม ง ค ล เ ท พ ม นี
เป็นชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งของแม่น้ำท่าจีน ในช่วงที่ผ่านแถบ อ.นครชัยศรี
คลองลัดเป็นคลองที่ช่วยให้ไม่ต้องเดินเรืออ้อมไปตามคุ้งน้ำ ซึ่งเป็นการช่วยย่น
ระยะเวลาในการเดินเรือได้มาก
คลองลัดก็จะกลายเป็นแม่น้ำ
สภาพของคลองลัดนั้น ในบางคลองนานปีผ่านไป
เพราะสายน้ำเดินทางในคลองลัด ที่ขุดใหม่ได้สะดวกกว่า จึงกัดเซาะตลิ่งให้กว้างขึ้น
กลายเป็นแม่น้ำ ส่วนแม่น้ำสายเดิมกลายเป็นคลองแทน เช่น คลองอ้อม คลองบางกอกน้อย
คลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบันนี้ เดิมก็คือ สายน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา แต่เมื่อขุดคลอง
ลัดขึ้น แม่น้ำสายเดิมก็กลายเป็นคลอง
พิจารณาดูตามแผนที่ที่ประกอบมาด้วยจะพบว่า ปากคลองอ้อมถึงปากคลอง
บางกรวย ช่วงแม่น้ำที่ผ่านท่าน้ำนนท์ ในอดีตคือคลองลัด ปัจจุบันกลายเป็นแม่น้ำแล้ว
ปากคลองบางกอกน้อย ถึงปากคลองบางกอกใหญ่ ช่วงแม่น้ำที่ผ่านหน้าวัด
พระเชตุพนฯ ในอดีตคือคลองลัดที่ขุดขึ้นในสมัยอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช
มีความกว้าง ที่สันนิษฐานกันไว้เพียงไม่เกิน 5 วา ปัจจุบันกลายเป็นแม่น้ำแล้ว
คลองลัดที่ชื่อว่า คลองบางอีแท่น
ซึ่งเป็นเส้นทางลัดของแม่น้ำท่าจีน หากไม่
บันทึกเอาไว้ในตอนนี้ นานปีผ่านไป ลำคลองก็อาจจะเปลี่ยนสภาพไป
ถ้าไม่กลายเป็น
แม่น้ำ ก็อาจจะถูกถมเป็นถนน หรือชื่อเรียกเปลี่ยนแปลงไป จนอาจจะตามหาประวัติ
หลวงพ่อวัดปากน้ำในช่วงนี้ไม่พบ
ในปัจจุบันนี้หากถามชาวบ้านทั่วไปถึงคลองบางอีแท่น ก็หาคนรู้จักได้ยาก นอก
จากคนเดินเรือเท่านั้น จึงจะพอรู้จัก ส่วนใหญ่ชาวบ้านก็จะรู้จักแต่ทางรถยนต์
ชื่อของคลองบางอีแท่น ปัจจุบันในอำเภอสามพราน ก็ระบุชื่อเรียกเป็นทาง
ราชการว่า คลองลัดบางแท่น
คลองบางอีแท่นนี้อยู่ในเขต อ.สามพราน จ.นครปฐม ซึ่งเป็นช่วงที่แม่น้ำท่าจีน
(นครชัยศรี) ไหลผ่าน อ.นครชัยศรี มาเข้าสู่ อ.สามพราน ช่วงนี้มีคุ้งน้ำอยู่กุ้งหนึ่ง
ชาวบ้านเรียกกันว่า กุ้งข้าวเหนียวบูด ด้วยว่าแต่ก่อนนั้นใช้เรือแจวกัน กว่าจะแจ๋วผ่าน
กุ้งนี้ไปได้ ก็ทำเอาข้าวเหนียวบูดทีเดียว