ข้อความต้นฉบับในหน้า
ต า ม ร อ ย พ ร ะ ม ง ค ล เ ท พ ม นี 79
ลำบากยากไร้ประโยชน์ (อัตตกิลมถานุโยค) ไม่มี
หยุดตามปกติของเขา ไม่มีทางเขา ไม่มีแล้ว เมื่อไม่มีทางดังกล่าว
แล้ว นี่ตรงนี้แหละที่พระองค์รับสั่งว่า ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา
ตถาคตเจ้ารู้แล้วด้วยปัญญายิ่ง
พระ
ตรงนี้แห่งเดียวเท่านั้น (ตรงหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางกาย) ตั้งต้นนี้แหละ
จนกระทั่งถึงพระอรหัตผล”
วิธีการฝึกใจอย่างไรให้ใจหยุด
หลวงพ่อได้กล่าวสอนไว้ในพระธรรมเทศนาของ
ท่านในหลายๆ เรื่อง กับทั้งในปัจจุบันนี้พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อ
ธัมมชโย) ก็ได้อบรมสั่งสอนในทุกๆ วันอาทิตย์มาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว และในการจัด
ปฏิบัติธรรมที่ทางวัดพระธรรมกายจัดขึ้น ก็มีการสอนวิธีการทำใจให้หยุด ซึ่งสามารถ
เข้าฝึกอบรมได้ไม่ยากนัก
สำหรับท่านที่สนใจศึกษาปฏิบัติแล้ว มีความสงสัย เพราะเคยได้ยินมาว่า วิธีการ
ปฏิบัติตามที่หลวงพ่อวัดปากน้ำสอนให้ทำใจ “หยุด” โดยการบริกรรมภาวนาว่า สัมมาอะระหัง
และนึกถึงดวงแก้วเป็นบริกรรมนิมิต เป็นวิธีที่ไม่อยู่ในหลักปฏิบัติสมถกรรมฐาน ๔๐ วิธี
ที่มาปรากฏเป็นตำราทางพุทธศาสนา ที่อธิบายเรื่องทางสายกลางมานี้จะถูก-ผิดอย่างไร ก็
อยากจะขอยกคำอธิบายที่หลวงพ่อได้กล่าว ไว้ในพระธรรมเทศนาเรื่องหลักการเจริญ
สมถวิปัสสนากรรมฐาน ว่า
“สมถะมีภูมิ ๔๐ (คือ) กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ พรหมวิหาร
๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑ อรูปฌาน ๔ ทั้ง ๔๐ นี้
เป็นภูมิของสมถะ”
ในคัมภีร์ต่างๆ ก็ยืนยันว่าทั้ง ๔๐ นี้เป็นวิธีปฏิบัติสมถกรรมฐาน หรือเรียกว่าอยู่ใน
ภูมิของสมถะ ภูมิของสมถะคืออะไร หลวงพ่อได้อธิบายว่า
“ภูมิของสมถะที่เราจะพึงเรียนต่อไปนี้ เริ่มต้นต้องทำใจให้หยุด จึง
จะเข้าภูมิของสมถะได้ ถ้าหาใจให้หยุดไม่ได้ ก็เข้าภูมิสมถะไม่ได้
สมถะเขาแปลว่าสงบ แปลว่าระงับ แปลว่าหยุด แปลว่านิ่ง ต้องทำใจ
ให้หยุด”