ข้อความต้นฉบับในหน้า
เมื่อจะไปต้องหยุด”
๓. ทางธรรมต้องหยุด
ต า ม ร อ ย พ ร ะ ม ง ค ล เ ท พ ม นี
63
(จากพระธรรมเทศนา เรื่อง หลักการเจริญภาวนาสมถวิปัสสนากรรมฐาน)
“นี่ก็แปลก ทางโลกเขาจะไป ต้องขึ้นเรือบิน เรือยนต์ รถยนต์ไป
จึงจะเร็วจึงจะถึง
แต่ทางธรรมไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อจะไปต้องหยุด ถ้าหยุดจึงจะเร็ว
จึงจะถึง นั่นแปลกอย่างนี้ จะไปทางนี้ต้อง “หยุด”
ทางธรรมเริ่มต้นต้องหยุด ตั้งแต่ตอนต้นจนกระทั่งพระอรหัต ถ้า
ไม่หยุด มันก็ไปไม่ได้ ชัดทีเดียว แปลกไหมละ
ไปทางโลก เขาต้องไปกันปราดเปรียว ว่องไว คล่องแคล่ว ต้อง
เล่าเรียนกันมากมาย จนกระทั่งรู้เท่าทันเหลี่ยมคูผู้คนตลอดสาย จึงจะ
ปกครองโลกให้รุ่งเรืองเจริญได้
แต่ว่าทางธรรมนี่แปลก “หยุด” เท่านั้นแหละไปได้ หยุดอย่าง
เดียวเท่านั้น”
(จากพระธรรมเทศนาเรื่อง หลักการเจริญภาวนาสมถวิปัสสนากรรมฐาน)
๔. หยุดเป็นตัวสําเร็จ
“บริกรรมภาวนาอยู่เรื่อยๆ ว่า สัมมาอะระหังๆๆๆ ที่บริกรรมว่า
ดังนี้ ก็เพื่อจะประคองใจของเราให้หยุด พอถูกส่วนเข้า ใจก็หยุด จะมืด
ก็หยุดตรงนั้น หรือว่าจะสว่างก็ต้องหยุดตรงนั้น ไม่ต้องถอยไปถอยมา
นิ่งอยู่ตรงนั้น พอถูกส่วนเข้า ก็จะเห็นดวงใส เราก็เอาใจหยุดอยู่ที่
กลางดวงใสนั้น
ถ้าหากว่าใจของเราไม่นิ่งไม่หยุด ซัดส่ายไปอย่างไร เราก็ต้องใช้
บริกรรมภาวนาไว้ว่า สัมมาอะระหังๆ ๆ จะกี่ร้อยกี่พันครั้งก็ตาม ให้
บริกรรมไป จนกว่าใจของเราจะหยุดนิ่งสนิทดี พอใจของเราหยุดดีแล้ว