ข้อความต้นฉบับในหน้า
156 ต า ม ร อ ย พ ร ะ ม ง ค ล เ ท พ ม นี
อรหันต์ไว้ว่าในทางหนึ่ง ท่านรักษาโรคโดยมีหมอชีวกโกมารภัจเป็นหมอที่ถวายการรักษา
เป็นประจำ แต่ในอีกทางหนึ่งพระพุทธองค์ได้กระทำและ สั่งสอนให้กระทำการรักษาด้วย
การเจริญโพชฌงค์ ๗ เป็นวิธีการรักษาโรค อย่างหนึ่ง เรื่องมียืนยันอยู่ในโพชฌงคสังยุตต์
(สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ซึ่งได้กล่าวถึงการหายจากความเจ็บป่วยด้วยการเจริญ
โพชฌงค์ ๗ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับพระมหากัสสปะ ๑ เรื่อง พระมหาโมคคัลลานะ ๑ เรื่อง
และพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ เรื่อง จนถึงในปัจจุบันนี้ ก็มีบทสวดโพชฌงคปริตร ที่
นิยมเชื่อถือกันว่าได้ฟังสวดแล้วจะช่วยให้หายเจ็บป่วยได้
โพชฌงค์ ๗ คืออะไร หลวงพ่อวัดปากน้ำได้อธิบายไว้ใน พระธรรมเทศนา เรื่อง
โพชฌงคปริตร เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๗ ดังนี้
“สติสัมโพชฌงค์ เราต้องเป็นคนไม่เผลอสติเลย เอาสตินิ่งอยู่
ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่น ตั้งสติตรงนั้น ทำใจให้
หยุด ไม่หยุดก็ไม่ยอม ทำให้หยุดไม่เผลอทีเดียว ทำจนกระทั่งใจหยุด
ได้ นี่เป็นตัวสติสัมโพชฌงค์แท้ๆ ไม่เผลอเลยทีเดียว ที่ตั้งที่หมาย
หรือกลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย
กลางกั๊กนั่นใจหยุดตรงนั้น เมื่อทำใจหยุดตรงนั้น ไม่เผลอสติทีเดียว
ระวังใจหยุดนั้นไว้ นั่งก็ระวังใจหยุด นอนก็ระวัง ใจหยุด
ระวังใจหยุด ไม่เผลอเลย นี้แหละตัวสติสัมโพชฌงค์แท้ๆ จะตรัสรู้ต่าง ๆ
ได้ เพราะมีสติสัมโพชฌงค์อยู่แล้ว
เดินก็
ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เมื่อสติใจหยุดนิ่งอยู่ ก็สอดส่องอยู่ความดี
ความชั่ว จะเล็ดลอดเข้ามาท่าไหน ความดีจะลอดเข้ามาหรือความชั่ว
จะลอดเข้ามา ความดีลอดเข้ามาก็ทำใจให้หยุด ความชั่วลอดเข้ามาก็
ทำใจให้หยุด ดี - ชั่ว ไม่ผ่องแผ้ว ไม่เอาใจใส่ ไม่กังวล ไม่ห่วงใย
ใจหยุด ระวังไว้ ไม่ให้เผลอก็แล้วกัน นั่นเป็นตัวสติวินัย ที่สอดส่องอยู่
นั่นเป็นธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
ทีเดียว
วิริยสัมโพชฌงค์ เพียรรักษาใจหยุดนั้นไว้ไม่ให้หาย ไม่ให้เคลื่อน
ความยินดียินร้ายเป็น
ไม่เป็นไปกับความยินดียินร้ายทีเดียว
อภิชฌา โทมนัส เล็ดลอดเข้าไป ก็ทำใจหยุดนั่นให้เสียพรรณไป ให้