เรือกระแซงและเรือข้างกระดาน ตามรอยพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ) หน้า 38
หน้าที่ 38 / 188

สรุปเนื้อหา

เรือกระแซงเป็นเรือต่อขนาดใหญ่ที่ทำด้วยไม้สัก มีรูปทรงหน้าตาเล็กและกลางป่อง ใช้บรรทุกข้าวสารและวัสดุอื่น ๆ ในสมัยนี้ยังได้มีการใช้เรือยนต์เข้ามาเสริมด้วย การเปลี่ยนจากการใช้ใบเตยหรือใบจากมาเป็นสังกะสีเป็นอีกจุดที่น่าสนใจ ข้อมูลจากหนังสือ 'เพื่อความเข้าใจในแผ่นดินอยุธยา' ของสำนักพิมพ์สารคดี แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของเรือในวัฒนธรรมไทย

หัวข้อประเด็น

-เรือกระแซง
-เรือข้างกระดาน
-การใช้เรือในประวัติศาสตร์
-วัสดุในการสร้างเรือ
-วิวัฒนาการของเรือไทย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

20 ต า ม ร อ ย พ ร ะ ม ง ค ล เ ท พ ม นี เรือกระแซงเป็นเรือต่อ ไม่ใช่เรือขุด เรือต่อ คือ เรือที่เอาไม้แผ่นมาต่อประกอบกันเป็นเรือ เรือขุด คือ เรือที่ขุดจากไม้ทั้งต้นเป็นรูปเรือ เรือกระแซงเป็นเรือต่อขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่จะทำด้วยไม้สัก หัวและท้ายเรือมี ขนาดเล็ก ตรงกลางป่อง ท้องเรือกลม มีหลายขนาด ใช้ถ่อก็ได้ แจวก็ได้ สมัยนี้มี เรือยนต์ก็ใช้เรือยนต์ผูกเรือกระแซงได้ทีเดียวหลายลำ ที่เรียกว่าเรือกระแซง ก็เพราะเดิมใช้ใบเตย หรือใบจากนำมาเย็บเป็นแผงใช้เป็น ประทุน สำหรับบังแดดบังฝน เดี๋ยวนี้เปลี่ยนมาเป็นใช้สังกะสีแทน เรือประเภทนี้ใช้บรรทุกข้าวสาร ข้าวเปลือก จึงเรียก กันว่า “เรือข้าว” อีก ชื่อหนึ่ง บางครั้งก็ใช้บรรทุกหิน ทราย ไม้พื้น เพราะมีความจุมาก ส่วนเรือข้างกระดาน ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำเคยใช้สมัย เป็นฆราวาส ก็เป็นเรือ ต่อจำพวกเดียวกับเรือกระแซง หรือเรือข้าวนั่นแหละ แต่เสริมข้างให้สูงขึ้น เพื่อให้ ภายในโปร่ง ถ้ามองดูจากกาบเรือขึ้นไป จะเห็นเป็นเหมือนฝากั้น ตีไว้ด้วยกระดานแผ่น ใหญ่ จึงเรียกว่าเรือข้างกระดาน คือด้านข้างของเรือมีกระดานที่ไว้เหมือนฝาเรือน ซึ่ง เรือของหลวงพ่อคงจะมีขนาดใหญ่ จึงเรียกว่า เรือข้างกระดานใหญ่ ขอขอบคุณ : ข้อมูลเรื่องเรือ ได้รับความอนุเคราะห์จากหนังสือ “เพื่อความเข้าใจในแผ่นดินอยุธยา” ของ สำนักพิมพ์สารคดี พิมพ์ครั้งแรก กันยายน ๒๕๓๘
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More