ข้อความต้นฉบับในหน้า
ต า ม ร อ ย พ ร ะ ม ง ค ล เ ท พ ม นี 111
ที่ว่านี้มีหลักฐานในอัคคัญญสูตร ที่พระองค์ตรัสแก่วาเสฏฐสามเณร
ว่า “ตถาคตสฺส เหตุ ว่า เสฏฐาธิวจน์ ธมฺมกาโย อห์ อิติปิฯ” ใน
สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ยืนยันความว่า “ดูกร วาเสฏฐสามเณร
คำว่าธรรมกาย ธรรมกายนี้เป็นชื่อตถาคตโดยแท้”
(จาก พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ)
ตถาคต คือ ธรรมกาย
“พระองค์รับสั่งกับวักกลิภิกขุว่า
“อเปหิ วกุกลิ วักกลิจงถอยออกไป
อิม ปูติกาย ทสฺสน์ มาดูไยเล่าร่างกายตถาคตที่เป็นของเปื่อยเน่า
โย โข วักกลิ ธมฺม ปสฺสติ โส ม ปสฺสติ แน่ะ สำแดงวักกลิ ผู้
ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต
ธมฺมกาโย อห์ อิติปิ ผู้ตถาคตคือธรรมกาย
นั่นแน่ะ บอกตรงนั้นแน่ะว่า เราตถาคตคือธรรมกาย ธรรมกาย
นั่นเองเป็นตัวตถาคตเจ้า”
(จาก พุทธรัตนะ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๗)
นอกจากคำกล่าวยืนยันที่มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกแล้ว หลวงพ่อยังได้อธิบาย
เรื่องราวของธรรมกายไว้ในพระธรรมเทศนาของท่านอีกหลายตอน เช่น
“ธรรมกายนี้ คือ พุทธรัตนะ
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้น เรียกว่า ธรรมรัตนะ
ธรรมกายละเอียดอยู่ในกลางดวงธรรมรัตนะนั้นเรียกว่าสังฆรัตนะ”
(จาก ภัตตานุโมทนาคาถา ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๙๗)
ธรรมกายเป็นแก่นสารของพระธรรมวินัย
“ ทำให้มี ให้เป็นธรรมกายขึ้นนั่นนะ เป็นแก่นเป็นสาระในพระพุทธ
ศาสนา เรียกว่าเป็นแก่นแน่นหนาทีเดียว ได้ชื่อว่ายึดไว้ได้ซึ่งแก่นสาร
ของตนทีเดียว