ข้อความต้นฉบับในหน้า
ต า ม ร อ ย พ ร ะ ม ง ค ล เ ท พ ม นี 95
พร้อมด้วยปัญญา
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการถึง
พร้อมด้วยวิมุตติ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง และชักชวนผู้
อื่นในการถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
ย่อมชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น”
จากพระสุตตันตปิฎก ปัญจกนิบาต จตุตถหิตสูตร (พระสูตรและอรรถกถาแปล ของมหามกุฏราชวิทยาลัย)
ธรรมขันธ์ ๕
ในพระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน ของมหามกุฏราชวิทยาลัย จัดทำโดย สุชีพ
ปุญญานุภาพ ซึ่งเป็นพระไตรปิฎกที่ได้รับการนิยมอย่างกว้างขวาง มีจำนวนการพิมพ์
แล้วเป็นแสนเล่ม ได้อธิบายขยายความไว้ว่า
“ธรรม ๕ อย่างนี้ (ศีล สมาธิ ปัญญาวิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ) เคย
ให้ความหมายไว้บ้างแล้ว
ศีล คือ การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย
สมาธิ คือ การทำใจให้ตั้งมั่น
ปัญญา คือ การรู้เท่าทันความจริง
วิมุตติ คือ ความหลุดพ้น
วิมุตติญาณทัสสนะ คือ การรู้ด้วยญาณว่าหลุดพ้นแล้ว เรียกว่า
ธรรมขันธ์ ๕”
ใน คัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งเป็นคัมภีร์แม่บทที่นักปฏิบัติในประเทศไทยนิยมใช้เป็น
แหล่งศึกษาค้นคว้าเรื่องการปฏิบัติธรรม (แต่งโดยพระพุทธโฆษาจารย์ ประมาณ พ.ศ.๑๐๐๐
สำนวนภาษาไทยชำระโดย วงศ์ ชาญบาลี) ในตอนมรณานุสติ กล่าวไว้ว่า
“...อันว่าสมเด็จพระสรรเพชรพุทธองค์ ผู้ทรงพระสวัสดิภาคย์อัน