ข้อความต้นฉบับในหน้า
22
ต า ม ร อ ย พ ร ะ ม ง ค ล เ ท พ ม นี
ทิดชิ้นจะออกไปติดต่อขอซื้อข้าวตามถิ่นต่างๆ ในท้องทุ่งเสนา จ.อยุธยา เพื่อนำ
ไปบดข้าวตรวจดูว่าข้าวสวยหรือไม่สวย
แล้วจึงตกลงต่อรองราคากันและกัน หาก
ตกลงกันยังหนึ่งแล้ว ข้าวยังไม่เต็มลำเรือ ก็ต้องติดต่อซื้อหาจากกุ้งบ้านอื่นๆ เรื่อยไป
กว่าจะตระเวนซื้อจนหมดฤดูดวงข้าวก็กินเวลาหลายเดือน
กำไรที่ทิดชิ้นได้มาจากการค้านี้ ก็คือ “ข้าวออก” ซึ่งเป็นข้าวที่ได้มาจากการค้า
อย่างนี้ คือ การซื้อข้าวจากชาวนา จะใช้วิธีตวงด้วยถัง คิด ๑๐๐ ถัง เป็น ๑ เกวียน
แต่เมื่อนำเอาข้าวเปลือกไปขายที่โรงสี ทางโรงสีจะชั่งเป็นกิโลกรัม คิด 9,000 กิโลกรัม
เป็น ๑ เกวียน เมื่อเอาข้าวที่ซื้อเป็นถังจำนวน ๑ เกวียน ไปชั่งจะได้น้ำหนักถึง 9,900 -
๑,๑๕๐ กิโลกรัม เท่ากับได้กำไรเกวียนละ ๑๐๐ - ๑๕๐ กิโลกรัม “ข้าวออก” จึงเป็น
ตัวทำเงินให้แก่พ่อค้าข้าวอย่างทิดชิ้นได้ (ปัจจุบันเลิกการตวงถังแล้ว)
ชีวิตพ่อค้าเรือข้าว นอกจากจะเปิดโลกให้ทิดชิ้นมีหูตากว้างไกล มีเพื่อนฝูง
ลูกค้าในหลายพื้นที่แล้ว ยังมีเหตุการณ์ที่ทำให้ติดชิ้นได้รู้รสชาติของคนค้าข้าว ที่ต้อง
รอนแรม ไปตามที่ต่างๆ อย่างแจ่มแจ้งมากขึ้น
ในวันที่พี่สาวของทิดชิ้นใกล้จะสิ้นใจ แม้ทิดชิ้นจะห่วง แต่ก็ต้องนำข้าวไปเข้าคิว
ชั่งที่โรงสี โดยต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตีสาม โยงเรือข้าว ๒ ลำเข้าด้วยกัน ให้ลูกสาว
ถือท้าย ส่วนตัวเองขับเรือนำ (สมัยหลวงพ่อวัดปากน้ำไม่ได้ใช้เรือยนต์อย่างนี้ แต่ใช้ถ่อ
ใช้แจวกัน)
เมื่อเรือวิ่งมาได้ระยะหนึ่ง ก็เห็นเรือสองตอนจอดนิ่งอยู่ริมฝั่ง ดูท่าทางเหมือน
เรือจะเสีย ทิดชิ้นก็วิ่งเรือผ่านไป พอออกมาถึงปากคลอง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีบ้านเรือน
อยู่เต็มสองฝั่งคลอง เรือสองตอนที่เห็นจอดอยู่ก็วิ่งตามมา แล้วเลยแซงหน้าเรือทิดชิ้น
ไปดับเครื่องอยู่ข้างหน้า ทิดชิ้นก็แปลกใจอยู่ที่เห็นเรือลำเดิมนั้น แต่ก็ไม่ได้นึกเฉลียวใจ
อะไร จนกระทั่งเรือวิ่งมาได้อีกระยะหนึ่ง ซึ่งเป็นที่เปลี่ยวปลอดบ้านเรือน
เรือสองตอนลำเดิมโผล่มาขนาบข้างเรือของทิดชิ้น แล้วคนบนเรือก็พยายามจะ
ข้ามมา ทิดชิ้นเห็นท่าไม่ดี จึงเร่งเครื่องเรือเต็มที่ พร้อมใช้เท้าถีบกราบเรือสองตอนให้
ถอยห่างออกไป พลางตะโกนว่า
“เฮ้ย พวกเอ็งจะเอายังไงนี่”