ความเข้าใจเกี่ยวกับนิพพานและอายตนนิพพาน ตามรอยพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ) หน้า 138
หน้าที่ 138 / 188

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายเกี่ยวกับนิพพานในพระพุทธศาสนา โดยนำเสนอแนวคิดว่ามีนิพพานสองประเภท คือ สอุปาทิเสสนิพพาน และ อนุปาทิเสสนิพพาน ซึ่งสอุปาทิเสสนิพพานเกิดขึ้นเมื่อพระพุทธเจ้าบรรลุธรรมแต่ยังมีขันธ์ปรากฏอยู่ ขณะที่อนุปาทิเสสนิพพานหมายถึงช่วงเวลาที่พระพุทธเจ้าหมดอายุขัยและเข้าสู่นิพพานอย่างสมบูรณ์ บทความนี้ยังให้รายละเอียดเกี่ยวกับอายตนนิพพานซึ่งเป็นสถานะที่มีอยู่ก่อนที่จะมีการเข้าไปสู่สภาวะนั้น และอธิบายหลักการที่สามารถนำมาเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ทางธรรมของมนุษย์ ทั้งนี้เพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวคิดทางศาสนาในด้านนี้

หัวข้อประเด็น

-นิพพาน
-อายตน
-พระพุทธเจ้า
-การบรรลุธรรม
-ขันธ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

120 ต า ม ร อ ย พ ร ะ ม ง ค ล เ ท พ มุ นี (ตอบ) นั่นเป็นตัวออกจากกิเลสเครื่องร้อยรัด เมื่อออกจากกิเลส เครื่องร้อยรัดแล้วจึงไปสู่นิพพานอีกครั้งหนึ่ง นิพพานแยกออกเป็นสอง สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ = “สอุปาทิเสสนิพพาน” เหมือนพระพุทธเจ้าได้สำเร็จพระพุทธเจ้า แล้ว แต่ว่าขันธปัจก (ขันธ์ ๕ = ร่างกาย กายเนื้อ) ยังปรากฏอยู่ สั่งสอน เวไนยสัตว์อยู่ ๔๕ ปี ในระหว่างนั้นเป็น สอุปาทิเสสนิพพานธาตุทั้งนั้น เป็นสอุปาทิเสสนิพพาน ส่วน “อนุปาทิเสสนิพพาน” เมื่อพระพุทธเจ้าครบ ๘๐ พรรษาแล้ว ที่จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน.....เมื่อพระพุทธเจ้าถึงอายตนนิพพานนั่นแล้ว อยู่ในนิพพานแล้วขณะใด ขณะนั้นเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน............ (ถาม) อายตนนิพพานนั้น เมื่อธรรมกายของพระพุทธเจ้ายังไม่ได้ เข้าไป มีอยู่ไหมละ (ตอบ) มีอยู่ เรียกว่า อายตนนิพพาน บาลี บริหารตำรับตำราไว้ว่า อตฺถิ ภิกขเว ตทายตน์... ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย นิพพานเป็น อายตนะมีอยู่....... พระพุทธเจ้ายังไม่ได้เข้านิพพาน พระอรหันต์ยังไม่ได้เข้านิพพาน ก็เป็นอายตนะคอยรองรับอยู่ เหมือนอย่างกับตาของเรามีอยู่ ยังไม่ เห็นรูป รูปมันยังมาไม่ถึง ตายังไม่มา ถึงรูป รูปยังไม่มาถึงตา ก็ไม่ เห็นกัน (แต่)ก็มีอายตนะอยู่แล้ว.......อายตนะ คือหู เสียงมันยังไม่มาถึงก็ ไม่ได้ยินกัน พอเสียงมาถึงก็ได้ยินกัน เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มีอายตนะเครื่องรับทั้งนั้น นี่เป็นอายตนะของโลก อายตน นิพพานเป็นของละเอียด ละเอียดทีเดียว.. “นิพพาน” นั่นแหละได้ชื่อว่าเป็นอายตนะหนึ่ง เรียกว่า “นิพพาน”
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More