กัมมัฏฐานและวิธีปฏิบัติในพระไตรปิฎก MD 305 สมาธิ 5  หน้า 12
หน้าที่ 12 / 114

สรุปเนื้อหา

กัมมัฏฐานหมายถึงวิธีการฝึกอบรมจิต ใช้แทนกันได้กับสมาธิและภาวนา มี 2 ประเภทคือสมถะและวิปัสสนา การฝึกมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ฝึกจิตสงบ รู้ทันประสบการณ์ทางชีวิต และหลุดพ้นจากวัฏสงสารเข้าสู่พระนิพพาน โดยมีวิธีตามพระไตรปิฎกที่เน้นการปฏิบัติตามธรรมชาติ ใช้อิทธิบาท 4 และสติเป็นตัวนำ นักเรียนจะได้เรียนรู้ความหมาย ประเภท จุดมุ่งหมาย และวิธีการปฏิบัติอย่างละเอียดจากพระไตรปิฎก เช่นเดียวกับความสำคัญของการฝึกจิตในพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของกัมมัฏฐาน
-ประเภทของกัมมัฏฐาน
-จุดมุ่งหมายของกัมมัฏฐาน
-วิธีการปฏิบัติกัมมัฏฐานตามพระไตรปิฎก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. กัมมัฏฐาน เป็นคำที่มุ่งหมายถึงวิธีการฝึกอบรมจิตและวัตถุที่ใช้ในการฝึกจิต โดยมีคำที่ใช้ แทนกันได้ คือ สมาธิ และภาวนา 2. กัมมัฏฐานในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ท่านกล่าวไว้ว่ามี 2 ประเภท คือ สมถะและวิปัสสนา กัมมัฏฐาน 3. การปฏิบัติกัมมัฏฐานมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ฝึกได้ทำจิตให้สงบ รู้เท่าทันเหตุการณ์ในชีวิตตาม ความเป็นจริง ไม่หวั่นไหวไปตามสุขทุกข์ที่เกิดขึ้น และที่สำคัญคือเพื่อการหลุดพ้นจากวัฏสงสารเข้าสู่ พระนิพพาน 4. การปฏิบัติกัมมัฏฐานในพระไตรปิฎก มีวิธีการที่เป็นหลัก คือ การปฏิบัติกัมมัฏฐานที่เป็นไป ตามธรรมชาติ การปฏิบัติกัมมัฏฐานโดยใช้อิทธิบาท 4 และการปฏิบัติกัมมัฏฐานโดยใช้สติเป็นตัวนำ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายความหมายของคำว่ากัมมัฏฐาน และคำที่ใช้แทนกันได้ 2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถบอกประเภทของกัมมัฏฐานได้ 3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายจุดมุ่งหมายของกัมมัฏฐานได้ 4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายวิธีการปฏิบัติกัมมัฏฐานในพระไตรปิฎกได้ บ ท ที่ 1 กั ม ม ฏ ฐ า น และ วิธี ป ฏิ บั ติ ใน พระไตรปิฎก DOU 3
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More