สมถะและวิปัสสนาตามหลักคำสอน MD 305 สมาธิ 5  หน้า 60
หน้าที่ 60 / 114

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้จะพูดถึงขั้นตอนการบริกรรมภาวนาและกำหนดบริกรรมนิมิตสำหรับการฝึกสมาธิ โดยมีการแนะนำฐานต่างๆ ตั้งแต่ฐานที่ 1 ถึงฐานที่ 7 เพื่อสร้างสมาธิและความสงบในจิตใจ ผ่านการใช้คำว่า 'สัมมา อะระหัง' ทำให้สามารถเข้าถึงความสงบภายในอย่างเต็มที่ ร่วมกับการเชื่อมโยงกลับเข้ามายังศูนย์กลางของตัวเอง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาจิตใจและปัญญา

หัวข้อประเด็น

-การบริกรรมภาวนา
-การกำหนดบริกรรมนิมิต
-ขั้นตอนการฝึกฌาน
-ฐานที่ 1 ถึงฐานที่ 7
-การสร้างสมาธิและความสงบ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

“ต้องมีบริกรรมภาวนา กับบริกรรมนิมิตเป็นคู่กัน บริกรรมนิมิตให้กำหนด เครื่องหมายเป็นดวงใสเหมือนกับเพชรลูกที่เจียระไนแล้ว ไม่มีขนแมว โตเท่า แก้วตา แล้วให้กำหนดไว้ตามฐานต่างๆ เริ่มต้นจากฐานที่ 1 ผู้หญิงกำหนดเข้า ปากช่องจมูกซ้าย ผู้ชายกำหนดเข้าปากช่องจมูกขวา แล้วให้บริกรรมภาวนา ประคอง บริกรรมนิมิตนั้นไว้ว่า สัมมา อะระหัง แล้วกำหนดบริกรรมนิมิต เลื่อนไปยังฐานที่ 2 ที่ เพลาตา หญิงอยู่อีกข้างซ้าย ชายอยู่อีกข้างขวาตรง หัวตาที่มูลตาออก ตามช่องลมหายใจเข้าออกข้างในแล้วให้บริกรรมประคอง เครื่องหมาย ที่เพลาตานั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง 3 ครั้งแบบเดียวกัน แล้วเลื่อนเครื่องหมายตรงลำดับเพลาตาเข้าไป กลางถูกศีรษะข้างใน ไม่ให้ ค่อนซ้ายขวาหน้าหลังล่างบน กลางกั๊กพอดี (นี่เรียกว่าฐานที่ 3) แล้วบริกรรม ประคองเครื่องหมายที่กลางถูกศีรษะข้างในว่าสัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมา อะระหัง 3 ครั้งหลัง แล้วค่อยๆ ให้เห็นกลับเข้าข้างใน พอตาเห็นกลับเข้าข้างใน ก็เลื่อนเครื่องหมาย (ฐานที่ 3) ไปที่ปากช่องเพดาน (ฐานที่ 4) ที่รับประทาน อาหารสำลัก อย่าให้ล้ำให้เหลื่อมพอดี แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมาย ที่ปากช่องเพดาน (ฐานที่ 4) ที่รับประทานอาหารสำลัก นั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหังสัมมาอะระหัง 3 ครั้ง แล้วก็เลื่อนเครื่องหมายไปที่ปากช่องคอ (ฐาน ที่ 5) เหนือลูกกระเดือก เหมือนกลางกั๊กปากถ้วยแก้ว ตั้งไว้ปากช่องคอ บริกรรม ประคองเครื่องหมายที่ปากช่องคอนั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมา อะระหัง 3 ครั้ง แล้วเลื่อนไปกลางตัว (ฐานที่ 6) สุดลมหายใจเข้าออก สะดือ ทะลุหลังขวาทะลุซ้ายกลางกั๊กพอดี แล้วบริกรรมที่กลางตัวนั้นว่าสัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง 3 ครั้ง แล้วเลื่อนเครื่องหมายถอยหลัง (จากฐานที่ 6) เหนือกลางตัวเรานี้ขึ้นไป 2 นิ้ว (ฐานที่ 7) ฐานที่ 7 นั้นมีศูนย์ 5 ศูนย์ ศูนย์กลาง ศูนย์ข้างหน้า ศูนย์ข้างขวา ศูนย์ข้างหลัง ศูนย์ข้างซ้าย ศูนย์กลาง คือ อากาศธาตุ ศูนย์ข้างหน้า คือ ธาตุน้ำ ศูนย์ข้างขวา คือ ธาตุดิน ศูนย์ข้างหลัง คือ ธาตุไฟ ศูนย์ข้างซ้าย คือ ธาตุลม เครื่องหมายใสสะอาด ตรงช่องอากาศขาดกลาง ตรงนั้นเรียกว่า ศูนย์ เราก็ต้องทำใจของเราให้นิ่ง ให้หยุด ทำใจให้หยุดอยู่ศูนย์กลาง ทำใจให้หยุด หยุดก็เข้ากลางหยุด กลางของกลาง ซ้ายขวา หน้าหลัง ล่างบน นอกใน ไม่ไป กลางของกลาง กลางของกลาง นิ่ง” บทที่ 3 สมถะและวิปัสสนาตามหลักคำสอนของพระมงคลเทพมุนี DOU 51
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More