จริตกับการปฏิบัติกัมมัฏฐาน MD 305 สมาธิ 5  หน้า 95
หน้าที่ 95 / 114

สรุปเนื้อหา

บทที่ 5 ของคัมภีร์ทางศาสนาอธิบายเกี่ยวกับจริตและการปฏิบัติกัมมัฏฐาน ซึ่งเน้นว่าการเข้าใจจริตของแต่ละบุคคลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับอาจารย์และศิษย์ในการฝึกปฏิบัติ คำว่า 'จริต' มีความหมายที่หลากหลาย เช่น ความประพฤติที่เป็นนิสัย อารมณ์ที่ชอบเคลื่อนไหว หรือพื้นฐานจิตใจที่มีความแตกต่างกัน โดยมีประเภทของจริต 6 ประเภท ได้แก่ ราคจริต, โทสจริต, โมหจริต, วิตกจริต, และสัทธาจริต ซึ่งแต่ละประเภทมีผลต่อวิธีการปฏิบัติกัมมัฏฐาน การเข้าใจจริตจะช่วยให้สามารถเลือกอารมณ์ที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาตนเองในทางที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของจริต
-ประเภทของจริต
-จริตในผู้ปฏิบัติกัมมัฏฐาน
-การประยุกต์ใช้จริตในการเจริญภาวนา
-ผลกระทบของจริตต่อการปฏิบัติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 5 จริตกับการปฏิบัติกัมมัฏฐาน คัมภีร์ทางศาสนาได้สอนเอาไว้ว่า ผู้ที่ใฝ่ใจในการเจริญภาวนา ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ผู้ให้กัมมัฏฐาน หรือศิษย์ผู้มีความปรารถนาจะปฏิบัติกัมมัฏฐาน ควรที่จะศึกษาให้มีความรู้ในเรื่องจริตแห่งบุคคล เพื่อเป็น ประโยชน์ในการที่จะนำเอาอารมณ์แห่งกัมมัฏฐาน อันเหมาะสมกับจริตไปประพฤติปฏิบัติ ให้ได้บรรลุผล อย่างรวดเร็วสมความปรารถนา 5.1 ประเภทและลักษณะของจริต 5.1.1 ความหมายของจริต จริต หรือ จริยา มีความหมายอยู่หลายความหมาย ดังต่อไปนี้ 1. แปลว่า ความประพฤติ ความประพฤติซึ่งหนักไปทางใดทางหนึ่ง อันเป็นปกติประจำอยู่ในสันดาน พื้นเพของจิต อุปนิสัย พื้นนิสัย แบบ หรือประเภทใหญ่ๆ แห่งพฤติกรรมของคน 2. แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตท่องเที่ยว หรืออารมณ์ที่ชอบท่องเที่ยวของจิต 3. แปลว่า ลักษณะอันเป็นพื้นฐานของจิต หรือนิสัยอันเป็นพื้นฐานของแต่ละบุคคคล รวมความว่า จริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเป็นพื้นฐานใจของแต่ละบุคคคล 5.1.2 ประเภทของจริต จริตของมนุษย์ทั้งหลายในโลกนี้ มีความแตกต่างออกไป 6 อย่าง ดังนี้ คือ 1. ราคจริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากราคะเป็นพื้นฐานใจ 2. โทสจริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากโทสะเป็นพื้นฐานใจ 3. โมหจริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากโมหะเป็นพื้นฐานใจ 4. วิตกจริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากวิตกเป็นพื้นฐานใจ 5. สัทธาจริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากศรัทธาเป็นพื้นฐานใจ 86 DOU สมาธิ 5 ห ลั ก ส ม ก วิ ปั ส ส น า ก ม ม ฏ ฐ า น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More