การพิจารณาอายตนะในธรรมวินัย MD 305 สมาธิ 5  หน้า 32
หน้าที่ 32 / 114

สรุปเนื้อหา

ภิกษุในธรรมวินัยที่ให้ความสำคัญต่อการพิจารณาอายตนะทั้งภายในและภายนอก โดยวิเคราะห์ความเกิดขึ้นและดับของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เพื่อให้เข้าถึงความรู้ที่ตั้งอยู่บนสติ การรู้จักต่ออายตนะและสังโยชน์ที่อาศัยนั้น รวมถึงการเข้าถึงความจริงของชีวิตอย่างชัดเจน ตัณหาและทิฏฐิไม่ครอบงำ ซึ่งทำให้เกิดการคืนสู่ความบริสุทธิ์และความสงบในจิตใจ

หัวข้อประเด็น

-การพิจารณาอายตนะ
-สังโยชน์และการกำจัด
-ธรรมภายในและภายนอก
-การพัฒนาสติ
-การเข้าใจหลักธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

“ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้น แห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่าง นี้ความดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ ความดับแห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ ด้วยเหตุดังพรรณนามานี้ ภิกษุย่อมพิจารณา เห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณา เห็นธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นใน ธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้างอยู่ อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อัน ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก” 3. อายตนะ คือ รู้ชัดในอายตนะภายในภายนอกแต่ละอย่างๆ รู้ชัดในสังโยชน์ที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยอายตนะนั้นๆ รู้ชัดว่า สังโยชน์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้ว ละเสียได้อย่างไร ที่ละได้แล้ว ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปได้อย่างไรดังพุทธพจน์ว่า “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักตา รู้จักรูป และรู้จักสังโยชน์ที่อาศัยตาและ รูปทั้ง 2 นั้นเกิดขึ้น อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด ประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด ประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ ชัดประการนั้นด้วย ภิกษุย่อมรู้จักหู รู้จักเสียง.... ภิกษุย่อมรู้จักจมูก รู้จักกลิ่น... ภิกษุย่อมรู้จักลิ้น รู้จักรส... ภิกษุย่อมรู้จักกาย รู้จักโผฏฐัพพะ.... ภิกษุย่อมรู้จักใจ รู้จักธรรมารมณ์ และรู้จักสังโยชน์ที่อาศัยใจและ ธรรมารมณ์ทั้ง 2 นั้นเกิดขึ้น” 1 มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์, มก. เล่มที่ 17 ข้อ 142 หน้า 617 * สังโยชน์ หมายถึง กิเลสที่ผูกใจสัตว์ไว้กับทุกข์ มีด้วยกัน 10 อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา บ ท ที่ 1 กั ม ม ฏ ฐ า น และ วิธี ป ฏิ บั ติ ใน พระไตรปิฎก DOU 23
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More