ผลของสมถะในพระพุทธศาสนา MD 305 สมาธิ 5  หน้า 61
หน้าที่ 61 / 114

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงผลของการปฏิบัติสมถะที่นำไปสู่การหยุดใจและเห็นดวงใสเท่าดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ โดยนำเสนอว่าการเข้าถึงดวงปฐมมรรคที่เป็นทางไปสู่มรรคผลนิพพานนั้นต้องหยุดกลางดวงที่เกิดขึ้น และเมื่อใจหยุดอยู่กลางดวงนั้น จะนำไปสู่ดวงศีล ดวงสมาธิ และสุดท้ายดวงปัญญาและวิมุตติ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญของการปฏิบัติธรรมในการบรรลุผลตามที่พระมงคลเทพมุนีได้สอนไว้

หัวข้อประเด็น

-ผลของสมถะ
-การหยุดใจ
-ดวงธัมมานุปัสสนา
-มรรคผลนิพพาน
-การเข้าถึงสภาวธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3.1.3 ผลของสมถะ เมื่อใจหยุด หรือที่พระมงคลเทพมุนีกล่าวว่า เข้าสิบแล้วก็ตกศูนย์ ตกศูนย์ คือ ใจหยุด พอใจ หยุดเรียกว่าเข้าสิบ จะปรากฏผลแห่งการปฏิบัติ คือ เห็นเป็นดวงใสเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ผุดขึ้น ท่าน กล่าวเพิ่มเติมไว้ว่า “นั่นตกศูนย์แล้ว เข้าสิบแล้ว เห็นศูนย์แล้ว เรียกว่า เข้าสิบแล้วเห็นศูนย์ พอเห็นศูนย์ ใจก็หยุดอยู่กลางศูนย์นั้นแหละ กลางดวงใส เท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์นั้น ดวงนั้นแหละเรียกว่า ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรืออีก นัยหนึ่ง ดวงนั้นแหละเรียกว่า ดวงปฐมมรรค หนทางเบื้องต้นมรรค ผล นิพพาน จะไปสู่มรรคผลนิพพาน ต้องเข้ากลางดวงนั้นแห่งเดียว ไปได้ทางเดียว ทางอื่นไม่มี” ดวงปฐมมรรคนี้เอง ท่านเรียกว่า ปฐมฌานเบื้องต้น หลังจากที่เข้าถึงดวงปฐมมรรคแล้ว พอใจ หยุดนิ่งต่อไป ที่เรียกว่า การเข้ากลาง ก็จะเข้าถึงสภาวธรรมภายในที่ละเอียดไปตามลำดับ พระมงคล เทพมุนีได้กล่าวไว้ว่า “พอหยุดถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ เกิดขึ้นมาอีกดวงหนึ่งเป็นดวงศีล โตเท่า ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์เหมือนกัน หยุดอยู่กลางดวงศีลนั้นแหละ พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น เกิดขึ้นอีกดวงหนึ่ง เรียกว่า ดวงสมาธิ โตเท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์เหมือนกันหยุดอยู่กลางดวง สมาธินั่นแหละ พอถูกส่วนเข้าเท่านั้นเกิดขึ้นอีกดวงหนึ่งเท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ เหมือนกัน เรียกว่า ดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญานั่นแหละ พอถูกส่วนเข้าเกิดขึ้นอีก ดวงหนึ่งเรียกว่า ดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ ถูกส่วนเข้า เกิดขึ้นอีกดวงหนึ่งเรียกว่า ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ” * มูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย, ชีวประวัติ ผลงานและรวมพระธรรมเทศนา 63 กัณฑ์, กรุงเทพฯ : เทคนิค 19, 2528 หน้า 274 * มูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย, ชีวประวัติ ผลงานและรวมพระธรรมเทศนา 63 กัณฑ์, กรุงเทพฯ : เทคนิค 19, 2528 หน้า 297 52 DOU สมาธิ 5 ห ลั ก ส ม ถ วิปัสสนากัมมัฏฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More