ข้อความต้นฉบับในหน้า
3.2 วิปัสสนากัมมัฏฐาน
3.2.1 ความหมายของวิปัสสนา
พระมงคลเทพมุนีได้อธิบายความหมายของวิปัสสนาว่า เห็นวิเศษ เห็นแจ้ง หรือเห็นต่างๆ
ท่านอธิบายลักษณะการเห็นว่า หมายถึง การเห็นในรูป แจ้ง คือ แจ่มแจ้งโดยสามัญลักษณะว่า
เป็นของไม่เที่ยง เต็มไปด้วยทุกข์และเป็นอนัตตาคือไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขา
วิปัสสนาคำนี้ แปลตามศัพท์ว่า เห็นแจ้ง เมื่อแยกออกจากกันจึงได้คำว่า เห็น กับคำว่า แจ้ง
โดยการเห็นนั้นเป็นการเห็นนามรูปด้วยตาธรรมกาย
พระมงคลเทพมุนีได้อธิบายถึงการเห็นด้วยตาธรรมกายจึงถือว่าเป็นวิปัสสนาเพราะว่า
ดวงวิญญาณหรือดวงรู้ในกายมนุษย์เล็กเท่ากับดวงตาดำข้างใน ใสเกินใสอยู่ในกลางดวงจิต ดวงจิตอยู่ใน
เบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ ดวงจิตอยู่ที่ไหน ดวงวิญญาณอยู่ที่นั่น ในกลางดวงจิตนั้น แม้ในกายต่างๆ คือ กายทิพย์
กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ดวงวิญญาณก็จะใหญ่เท่ากับดวงตาดำข้างในแต่ละกาย ทำให้ความรู้มีขีดจำกัด
ดวงวิญญาณเท่านั้นไม่อาจทำให้เห็นอริยสัจได้ ความรู้ของดวงวิญญาณก็รู้อย่างคนตาบอด รู้ผิดเป็นถูก
รู้ถูกเป็นผิด เพราะไม่ได้รู้ด้วยปัญญา แต่ดวงวิญญาณของธรรมกายได้กลับเป็นดวงญาณที่ใหญ่โต วัดเส้น
ผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย การที่ดวงญาณเท่าหน้าตักธรรมกาย นี้เรียกว่า จกฺขุกรณี เห็นเป็นปกติ
คือ เห็นเบญจขันธ์ทั้ง 5 ในกายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด กายรูปพรหม รูปพรหมละเอียด อรูปพรหม
อรูปพรหมละเอียด ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา การเห็นด้วยตาธรรมกาย รู้ด้วยญาณธรรมกาย
เห็นด้วยตาของพระพุทธเจ้า รู้ด้วยญาณของพระพุทธเจ้า เป็นการรู้และเห็นที่ตรงตามความจริง
การรู้เห็นที่จะเกิดขึ้นเป็นขั้นวิปัสสนาได้ ต้องอาศัยกายธรรม ซึ่งมีธรรมจักขุ ที่สามารถมองเห็น
สภาพภพ ทั้งในกามภพ รูปภพ และอรูปภพ และญาณที่มีความรู้กว้างขวาง
3.2.2 วิธีการศึกษาวิปัสสนา
วิปัสสนาที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกมีอยู่ 6 อย่าง หรือที่ภาษาพระเรียกว่า มีภูมิ 6 ได้แก่ ขันธ์ 5
อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 อริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาท
การศึกษาวิปัสสนาในแนวทางปฏิบัติ เป็นการศึกษาตั้งแต่กายธรรมโคตรภู จนถึงกายธรรม
2528 หน้า 15
มูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย, ชีวประวัติ ผลงานและรวมพระธรรมเทศนา 63 กัณฑ์, กรุงเทพฯ : เทคนิค 19,
56 DOU สมาธิ 5 ห ลั ก ส ม ถ วิปัสสนากัมมัฏฐาน