การเลือกสถานที่สำหรับการเจริญกัมมัฏฐาน MD 305 สมาธิ 5  หน้า 86
หน้าที่ 86 / 114

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับสถานที่ที่อาจก่อให้เกิดความกังวลใจในการปฏิบัติธรรมหรือทำสมาธิ เช่น สถานที่ที่มีผู้คนไปมามาก, เสียงรบกวนจากการเก็บฟืนหรือการทำการเกษตร, สถานที่ต่างๆ ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำสมาธิ รวมไปถึงอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในบางสถานที่ อีกทั้งยังเน้นความสำคัญของการเลือกสถานที่ที่เหมาะสมในการเจริญกัมมัฏฐาน ซึ่งควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกและไม่ห่างไกลจากหมู่บ้าน เพื่อไม่ให้ร่างกายอ่อนเพลียจากการเดินทางไกล ส่งผลให้จิตใจสงบและมีสมาธิในการปฏิบัติ.

หัวข้อประเด็น

-ข้อควรระวังในการเลือกสถานที่ปฏิบัติธรรม
-อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ต่างๆ
-ลักษณะของสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการทำสมาธิ
-ผลกระทบของสภาพแวดล้อมต่อการปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สถานที่เหล่านี้อาจจะก่อให้เกิดความกังวลใจได้ เนื่องจากผู้คนที่ไปมากราบไหว้บูชาอย่างไม่ขาดสาย หรือมาเยี่ยมเยียน การจะทำสมาธิได้นานๆ จึงไม่ค่อยได้รับผลดีนัก 10. นครสนนิสสิตตา สถานที่ที่ติดกับตัวเมือง มีผู้คนเวียนไปมาทำให้วุ่นวาย และอาจจะมี สิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่มักยั่วกิเลส และอุปสรรคอื่นๆ นานัปการ 11. ทารุสนนิสสิตตา สถานที่ที่ติดกับป่าไม้ฟืน อาจได้รับการรบกวนจากผู้มาเก็บฟืนหรือ ตัดต้นไม้เพื่อจุดประสงค์ต่างๆ 12. เขตฺตสนฺนิสิตตา สถานที่ที่ใกล้กับนา เสียงอื้ออึงของชาวนาก่อให้เกิดความรำคาญ วัวควายเข้ามาเพ่นพ่าน 13. วิสภาคานํ ปุคคลานํ อตฺถิตา สถานที่ที่มีบุคคลไม่ถูกกันอยู่ ก่อให้เกิดความกระทบกระทั่ง ทําให้ใจไม่สงบเป็นสมาธิ 14. ปฏฏนสนนิสสิตา สถานที่ที่อยู่ใกล้ท่ารถ ท่าเรือ ผู้คนไปมาขวักไขว่ ทำให้รบกวนการ ปฏิบัติได้ 15. ปจฺจนฺตสนฺนิสิตตา สถานที่ที่ติดกับชายแดน ซึ่งห่างไกลจากความเจริญ อาจจะมีผู้คน ที่ไม่เลื่อมใสในพุทธศาสนา หรือไม่เข้าใจในการปฏิบัติ อาจจะขัดขวางการปฏิบัติธรรมได้ หรืออาจจะมีปัจจัย และสิ่งจำเป็นอื่นๆ หาได้ลำบาก 16. รชฺชสีมนฺตรสนฺนิสฺสิตตา สถานที่ที่เป็นชายแดนประเทศ อาจจะมีการสู้รบ หรือมี อันตรายทางด้านการเมืองมารบกวน 17. อสปปายตา สถานที่ที่ไม่สัปปายะ ไม่ปลอดภัย เช่น มีโจรภัย อุทกภัย เป็นต้น 18. กลยาณมิตฺตานํ อลาโภ สถานที่ที่หากัลยาณมิตรไม่ได้ ไม่มีอุปัชฌาย์อาจารย์ หรือผู้ที่มี ความสามารถในการคอยให้แนะนำและสั่งสอนในเรื่องของการปฏิบัติธรรมได้ ลักษณะอาวาสเหมาะสม ประกอบด้วยองค์ 5 คือ 1. มีหนทางไปมาสะดวกสบาย คือ ไม่ไกลหรือไม่ใกล้จากหมู่บ้าน ที่ปฏิบัติธรรมที่ไม่อยู่ไกลเกินไปนั้นจะมีประโยชน์ ดังต่อไปนี้คือ 1) ไม่ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียเพราะการเดินทางไกล เมื่อร่างกายไม่อ่อนแอ ทำให้กายสบาย เมื่อกายสบาย จิตจะสงบได้ง่ายมากขึ้น นั่งทำกัมมัฏฐานก็จะไม่หลับง่าย - พระเทพวิสุทธิกวี, 2538 บทอบรมกรรมฐาน, กรุงเทพฯ, หน้า 97 บทที่ 4 กิ จ เ บื้ อ ง ต้ น ก่ อ น ก า ร เ จ ริ ญ กัมมัฏฐาน DOU 77
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More