การพิจารณาจริตและกัมมัฏฐาน MD 305 สมาธิ 5  หน้า 109
หน้าที่ 109 / 114

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการพิจารณาจริตภายในจิตใจของมนุษย์ และการเลือกกัมมัฏฐานที่เหมาะสมเพื่อการเข้าสู่ภาวะสงบ การวิเคราะห์จริตโดยการแบ่งประเภทและอธิบายถึงความหมายในเชิงลึก เช่น โมหะ, วิตก, ราคจริต และการร่วมกันของธรรมต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการแนะนำกัมมัฏฐาน 40 กอง ที่เหมาะสมกับแต่ละจริต เพื่อการบรรลุถึงความสำเร็จในทางจิตวิญญาณ เช่น การพิจารณาซากศพหรืออสุภกัมมัฏฐาน ว่าเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้ปฏิบัติได้มีสติและหลุดออกจากอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้, การทำความเข้าใจกับร่างกายเพื่อไม่ให้หลงเข้าไปในความสวยงามของรูปลักษณ์

หัวข้อประเด็น

-จริตและธรรมะ
-การเลือกกัมมัฏฐาน
-การพิจารณาซากศพ
-การกำหนดพิจารณากาย
-การทำสมาธิและความสงบในใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ถึงอบาย ส่วนพุทธิจริตนั้น ก็เบื่อหน่ายเหมือนกัน แต่ว่าเบื่อหน่ายด้วยอำนาจแห่งปัญญาซึ่งเป็นทางให้ ถึงสวรรค์ ตลอดจนถึงพระนิพพานก็ได้ นี่เป็นประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง โทสะเป็นธรรมที่เกิดเร็ว ดุจไฟไหม้ฟางลุกโพลงขึ้นในทันใด ฝ่ายปัญญาก็เป็น ธรรมที่เกิดเร็วเหมือนโทสะ คือ เกิดสว่างจ้ารู้แจ้งขึ้นมาในทันใดนั้นเหมือนกัน โมหะจริต กับ วิตกจริต ที่จัดว่ามีความเสมอภาคกันนั้น คือ โมหะมีอาการสงสัย ลังเลใจอยู่ ส่วนวิตกก็คิดแล้วคิดอีก อันเป็นอาการที่คล้ายกับลังเลไม่แน่ใจเช่นเดียวกัน อีกประการหนึ่ง โมหะมี อาการฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ส่วนวิตกก็คิดอย่างนี้ อย่างนั้น หรืออย่างโน้น อันเป็นอาการคิดพล่านไป เช่นเดียวกัน ดังนี้จึงว่ามีความเสมอภาคกัน 5.5 กัมมัฏฐานที่เหมาะสมกับจริต กัมมัฏฐานทั้ง 40 กอง ท่านแสดงไว้ให้เหมาะสมกับจริตอัธยาศัย เมื่อใดอารมณ์จิตข้อง อยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง หรือมีอารมณ์ใดปรากฏขึ้น ให้เลือกสรรกัมมัฏฐานที่เหมาะสมมาหักล้าง อารมณ์นั้นๆ เพื่อใจจะได้หยุดนิ่งได้ง่าย กัมมัฏฐานทั้ง 40 กอง ที่ท่านแยกไว้เป็นหมวดเป็นกอง มีดังนี้ อสุภกัมมัฏฐาน 10 อนุสติ 10 กสิณ 10 อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1 จตุธาตุววัตถาน 1 พรหมวิหาร 4 อรูป 4 รวมเป็น 40 กอง กัมมัฏฐานทั้ง 40 กอง ท่านจำแนกแยกเป็นหมวดไว้ เพื่อให้เหมาะสมกับจริตนั้นๆ มีดังนี้ 5.5.1 ราคจริต ท่านจัดกัมมัฏฐานที่เหมาะสมไว้ 11 อย่าง คือ อสุภกัมมัฏฐาน 10 กับกายคตาสติกัมมัฏฐาน 1 ก. อสุภกัมมัฏฐาน 10 คือ การพิจารณาซากศพในลักษณะต่างๆ กัน รวม 10 ลักษณะ เริ่มตั้งแต่ ศพที่ขึ้นอืด ศพที่มีสีเขียวคล้ำ ศพที่มีน้ำเหลืองไหล ศพที่ถูกฟันขาดเป็นสองท่อน ศพที่ถูกสัตว์ทิ้งศพที่ อวัยวะกระจัดกระจาย ศพที่ถูกสับฟันด้วยมีด ศพที่มีเลือดไหล ศพที่มีหนอนคลาคล่ำ ศพที่เหลือแต่กระดูก ข. กายคตาสติกัมมัฏฐาน คือ การกำหนดพิจารณากายนี้ ให้เห็นว่าประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ อาการ 32 มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ ผังผืด ไต ปอด ไส้ ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า มันสมอง น้ำดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ น้ำมันข้น น้ำตา น้ำมัน เหลว น้ำลาย น้ำมูก น้ำมันไขข้อ น้ำปัสสาวะ ว่าไม่สะอาด ไม่งาม น่าเกลียด อันทำให้รู้เท่าทันสภาพของ กายนี้ ไม่ให้หลงไหลมัวเมา 100 DOU สมาธิ 5 ห ลั ก ส ม ก วิ ปั ส ส น า กั ม ม ฏ ฐ า น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More