ข้อความต้นฉบับในหน้า
3.1.5 การศึกษาสมถะ
ตลอดตั้งแต่กายมนุษย์ถึงกายอรูปพรหมละเอียด แค่นี้เรียกว่า สมถะ คือ เมื่อเราหยุดใจได้
เข้าถึงดวงปฐมมรรคในกายมนุษย์ เมื่อใด เมื่อนั้น จึงเรียกว่า เป็นการเริ่มต้นสมถะแล้ว ตามคำของ
พระมงคลเทพมุนี ที่ว่า
“พอใจหยุดเท่านั้นแหละถูกตัวสมถะแล้ว หยุดนั่นแหละเป็นตัวสมถะ” และเมื่อเข้าต่อไปจนถึง
กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์หยาบ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหมหยาบ และสุดท้าย ที่กายอรูปพรหม
ละเอียด ก็เป็นอันสิ้นสุดภูมิของสมถะ แต่นั้นจึงเป็นขั้นของวิปัสสนา
การศึกษาสมถะในแนวทางปฏิบัติจึงเป็นการศึกษาตั้งแต่ปฐมมรรคในกายมนุษย์หยาบ จนถึง
กายอรูปพรหมละเอียด พระมงคลเทพมุนีกล่าวว่า เมื่อจิตของเราเข้าถึงขั้นใด ก็อาศัยศึกษาจากภูมิจิต
ชั้นนั้นๆ ท่านใช้คำว่า เอากายนั้นๆ เป็นแบบ พระมงคลเทพมุนีได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า
“เราต้องยึดกายมนุษย์นี่เป็นแบบ เข้าไปถึงกายมนุษย์ละเอียด
ยึดกายมนุษย์ละเอียดนี่เป็นแบบ เข้าถึงกายทิพย์
ต้องยึดกายทิพย์นั่นเป็นแบบ เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด
ต้องยึดกายทิพย์ละเอียดเป็นแบบ จะโยกโย้ไปไม่ได้ เข้าถึงกายรูปพรหม
ต้องยึดกายรูปพรหมเป็นแบบ เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด
ต้องยึดกายรูปพรหมละเอียดเป็นแบบไป เข้าถึงกายอรูปพรหม
ยึดกายอรูปพรหมเป็นแบบ เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด
ยึดกายอรูปพรหมละเอียดเป็นแบบ”
ดังนั้น การศึกษาในแต่ละกายนั้น คือการศึกษาในขั้นสมถะ การบำเพ็ญสมถะนั้น ส่งจิตเพ่งดวง
ปฐมมรรคตรงศูนย์ คือกึ่งกลางกายภายในตรงกลางพอดี ไม่เหลื่อมซ้ายขวา หน้าหลัง แล้วเลื่อนสูงขึ้น 2
นิ้ว เมื่อถูกส่วนก็จะเห็น กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหมเป็นชั้นๆ ซ้อนกันอยู่ภายใน
ตามลำาดับ
จากกายมนุษย์เข้าไป พิจารณาประกอบธาตุธรรมถูกส่วนรูปจะกะเทาะล่อนออกจากกัน เห็นตาม
ลำดับเข้าไป คือ กายมนุษย์กะเทาะออกเห็นกายทิพย์ กายทิพย์กะเทาะออกเห็นกายรูปพรหม กายรูปพรหม
กะเทาะออกเห็นกายอรูปพรหม
จากเนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเป็นสมถกัมมัฏฐานที่พระมงคลเทพมุนีได้แสดงไว้
1-2 มูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย, ชีวประวัติ ผลงานและรวมพระธรรมเทศนา 63 กัณฑ์, กรุงเทพฯ : เทคนิค 19,
2528 หน้า 284-285
บทที่ 3 สมถะและวิปัสสนาตามหลักคำสอนของพระมงคลเทพมุนี DOU 55