ข้อความต้นฉบับในหน้า
จากบทสนทนานั้นพบว่า สมาธิ หมายถึง สภาวะของจิตระดับหนึ่ง ที่ตรงกับภาษาบาลีว่า
จิตฺตสฺส เอกคุกตา หมายถึง ความที่จิตมีธรรมชาติเป็นอารมณ์เดียว คำจำกัดความนี้เป็นคำจำกัดความ
ที่พบได้ในพระสูตรต่างๆ
ในวิสุทธิมรรค พระพุทธโฆษาจารย์ได้ให้คำจำกัดความเช่นเดียวกัน แต่ให้ความหมายของสมาธิ
มากยิ่งขึ้นว่า กุสลจิตฺเตกคฺคตา ซึ่งหมายถึง ความเป็นหนึ่งของจิตที่เป็นกุศล
นอกจากนี้ สมาธิยังหมายถึง วิธีหรือระบบแห่งการฝึกสมาธิ ซึ่งจะนำไปสู่สภาพของจิตที่
สมดุลและสงบ วิธีการฝึกจิตนี้จึงเรียกว่า สมาธิ หรือ สมาธิภาวนา ดังที่นางธรรมทินนาได้ยกมากล่าวว่า
วิธีถึงสมาธิ ก็คือภาวนานั่นเอง แต่เมื่อใช้คำว่าสมาธิในความหมายว่า วิธี จะต้องเข้าใจว่า ท่านหมายถึง
ระบบ ซึ่งนำไปสู่สมาธิในขั้นต้น คือ ก่อนจะบรรลุวิปัสสนา
ดังนั้น อาจสรุปได้ว่า คำว่า สมาธิ หมายถึงสภาพของจิตซึ่งจะต้องผ่านการพัฒนาด้วยวิธี
การฝึกที่มีระบบนั่นเอง
1.2.2. ภาวนา
คำว่า ภาวนา เป็นคำที่บ่งถึงการปฏิบัติเพื่อฝึกจิตอย่างเดียวเท่านั้นในลักษณะที่กว้างขวาง
คำนี้ครอบคลุมถึงระบบทั้งหมด เมื่อคำว่า ภาวนา ปรากฏในคัมภีร์ต่างๆ โดยปกติจะบ่งถึงการปฏิบัติ หรือ
การปลูกฝังสมาธิ
คำว่า ภาวนา ท่านใช้ร่วมกับคำซึ่งบ่งถึงอารมณ์ของกัมมัฏฐาน เช่น ฌานภาวนา สมาธิภาวนา
เมตตาภาวนา เป็นต้น เพื่อแบ่งแยกสมาธิชนิดต่างๆ ออกไป
คำว่า ภาวนา มักนิยมใช้คู่กับคำว่า จิต คือ จิตตภาวนา ซึ่งหมายถึง การอบรมจิต หรือการ
พัฒนาจิต ในระหว่างการฝึกสมาธิอันมีระบบนั้น จิตย่อมได้รับการฝึกจนกระทั่งอำนาจจิตทั้งหมด
ถูกนำเข้ามารวมกัน เมื่อสมาธิได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่และจิตก็บรรลุถึงความเป็นใหญ่ในตัวเอง ในสภาพ
เช่นนี้ จิตย่อมสามารถต้านทานกระแสแห่งความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ก็ตาม
จิตย่อมสามารถทนต่อความเจ็บปวดปางตายและตั้งอยู่อย่างไม่หวั่นไหวไปตามสิ่งยั่วเย้าทางประสาทสัมผัส
ดังนั้นการฝึกสมาธิท่านจึงเรียกว่า จิตตภาวนา และเกี่ยวพันถึงการอบรมทางจิตและทางร่างกาย
ระบบของการฝึกสมาธิทั้งหมดท่านได้อธิบายไว้ในหนังสือคัมภีร์วิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆษาจารย์
โดยใช้คำว่า จิตตภาวนา
ในการเจริญภาวนา นอกจากมีการดำเนินไปของจิตแล้ว ยังมีการใช้คำกล่าวบางอย่างขณะ
เจริญภาวนาแบบต่างๆ เช่น ใช้คำว่า ปฐวีในการเพ่งกสิณ ใช้คำว่า ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงมีความสุข
สมาธิในพระพุทธศาสนา, พระ ดร. พี วชิรญาณมหาเถระ, โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, หน้า 27
8 DOU ส ม า ธิ 5 ห ลั ก ส ม ก วิ ปั ส ส น า กั ม ม ฏ ฐ า น