วิจารและปีติในสมาธิ MD 305 สมาธิ 5  หน้า 41
หน้าที่ 41 / 114

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้พูดถึงการทำสมาธิผ่านการวิจารและปีติ โดยวิจารหมายถึงการประคองจิตไม่ให้ลังเล และปีติคือความรู้สึกปลาบปลื้มจากการทำสมาธิ อธิบายความสัมพันธ์ของวิตกและวิจาร เช่น เสียงระฆังและการบินของนก ให้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาสมาธิและลักษณะของปีติที่เกิดขึ้นขณะปฏิบัติ นอกจากนี้ยังมีการแยกประเภทปีติเป็น 5 ประเภทตามที่ระบุในอรรถกถา ซึ่งรวมถึงขุททกาปีติ, ขณิกาปีติ, และโอกกันติกาปีติ เป็นต้น

หัวข้อประเด็น

-วิจาร
-ปีติ
-สมาธิ
-อารมณ์กรรมฐาน
-การพัฒนาจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

2) วิจาร คือ การประคองจิตให้มั่นอยู่ในอารมณ์ที่เพ่ง และในขณะเดียวกันก็ขจัดวิจิกิจฉานิวรณ์ คือ ความที่จิตเกิดลังเลสงสัย วิจารนี้ย่อมทำให้ผู้ปฏิบัติไม่เกิดความสงสัยในสภาวธรรมที่ปรากฏ ว่าใช่นิมิตหรือไม่ใช่นิมิต แต่จะรู้ได้ด้วยตนเอง ว่าสิ่งที่ปรากฏนั้นเป็นสภาวธรรมภายในจริงๆ วิตกและวิจารนี้มีส่วนสนับสนุนกันในการยกจิตให้เข้าสู่สภาวะแห่งอัปปนาสมาธิ โดยเมื่อวิตก ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์กรรมฐานแล้ว วิจารก็ประคองจิตนั้นไว้ไม่ให้ตกไป แต่ถ้าวิตกไม่ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ กัมมัฏฐาน วิจารก็ทำหน้าที่ไม่ได้ หรือเมื่อวิตกยกจิตขึ้นสู่อารมณ์กัมมัฏฐานแล้ว ถ้าวิจารไม่ประคองจิตไว้ จิตนั้นก็จะตกไปสู่ภวังค์ตามเดิม ถ้าหากเปรียบเทียบลักษณะของวิตกและวิจารอาจเปรียบเทียบได้ดังนี้ 1. วิตกเปรียบเหมือนเสียงระฆังที่ดังขึ้นครั้งแรก ส่วนวิจารเปรียบเหมือนเสียงครวญดังกึ่งๆ ของระฆังหลังจากการตีแล้ว 2. วิตกเปรียบเหมือนการกระพือปีกของนกที่บินขึ้นไปในอากาศครั้งแรก ส่วนวิจารเปรียบ เหมือนอาการที่นกนั้นกางปีกร่อนไปในอากาศ โดยไม่ต้องกระพือปีก 3. วิตกเปรียบเหมือนการโผลงไปยังดอกบัวของผึ้ง ส่วนวิจารเปรียบเหมือนการบินร่อนอยู่ ในส่วนเบื้องบนดอกบัวหลวงของแมลงผึ้ง ซึ่งโผลงบ่ายหน้าสู่ดอกบัวหลวงฉะนั้น วิจาร จึงมีลักษณะที่นิ่มและเรียบกว่าวิตก เพราะมีหน้าที่ประคองจิตไว้ในอารมณ์มิให้ตกไป 3) ปีติ คือ ความปลาบปลื้มใจ อิ่มเอิบใจในการเพ่งอารมณ์ที่วิตก ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ และ ประคองจิตให้มั่นอยู่ในอารมณ์นั้นได้ ปีติ เป็นผลที่เกิดขึ้นจากความสงบของจิต ปีติอาจเกิดขึ้นได้แก่คนที่ทำสมาธิ แม้เมื่อจิต เริ่มสงบ ยังไม่ได้สมาธิ ในอรรถกถา ท่านแยกประเภทของปีติเป็น 5 ประเภท 1. ขุททกาปีติ คือ ปีติเล็กน้อย ได้แก่ ความยินดีที่เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย บางครั้งก็เกิดขนลุก ซู่ทั่วร่างกาย บางทีก็เกิดผมตั้งชูชันขึ้น บ้างครั้งน้ำตาไหล แต่เกิดนิดหน่อยแล้วก็ดับไป 2. ขณิกาปีติ คือ ปิติชั่วขณะ ได้แก่ ความยินดีที่เกิดขึ้นชั่วขณะ ทำให้รู้สึกแปลบขึ้นตาม ร่างกายเหมือนฟ้าแลบ แต่เพียงพักเดียวก็ดับไป บางครั้งเกิดคันตามใบหน้าเหมือนมีมดหรือมีไรมาไต่ บางที เนื้อตัวกระตุก เป็นต้น 3. โอกกันติกาปีติ คือ ปีติเป็นพักๆ ได้แก่ ความยินดีที่ทำให้อิ่มเอิบใจเป็นพักๆ รู้สึกซู่ลงมา ในกายเหมือนคลื่นซัดเข้าหาฝั่ง บางทีเหมือนกับคนที่นั่งเรือไปในมหาสมุทรถูกคลื่น ทำให้รู้สึกโคลงเคลง เหมือนจะล้ม เป็นต้น วินัยปิฎก มหาวรรค อรรถกถา มก. เล่มที่ 1 หน้า 252 * ขุททกนิกาย มหานิทเทส มก. เล่มที่ 65 หน้า 302-303 32 DOU สมาธิ 5 ห ลั ก ส ม ก วิ ปั ส ส น า ก ม ม ฏ ฐ า น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More